งานฉาบปูน หมายรวมถึง งานฉาบปูนผนังวัสดุก่อทั้งหมด ผนัง คสล. และงานฉาบปูนโครงสร้าง คสล. เช่น เสา คาน และท้องพื้นในส่วนที่มองเห็นด้วยตาทั้งหมด ยกเว้นฝ้าเพดานส่วนที่เป็นคอนกรีตสำเร็จรูป และงานคอนกรีตเปลือย
ขอบเขตของงาน ให้ฉาบปูนตามมาตรฐานและกรรมวิธีนี้บนผนังก่อ ผนังและเพดานคอนกรีต หรือวัสดุอื่น ๆ ทั่วไปตามที่ระบุไว้ในแบบ ทั้งนี้ยกเว้นพื้นที่วัสดุบางชนิดที่มีการระบุให้ฉาบปูนโดยวัสดุ หรือมาตรฐานเฉพาะของผู้ผลิตวัสดุนั้นช่น บล็อคคอนกรีตมวลเบา
ข้อกำหนดทั่วไป
1 การฉาบปูนทั้งหมด เมื่อฉาบครั้งสุดท้ายเสร็จเรียบร้อยแล้ว ผนังจะต้องเรียบสะอาดสม่ำเสมอ ไม่เป็นรอยคลื่นและรอยเกรียงได้ดิ่งได้ระดับทั้งแนวนอน และแนวตั้ง มุม ทุกมุมจะต้องตรง ได้ดิ่ง และฉาก (เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นพิเศษในแบบรูป)
2 หากมิได้ระบุลักษณ ะ การฉาบปูนเป็นอย่างใดอย่างหนึ่ง ให้ถือว่าเป็นลักษณะ การฉาบปูนเรียบทั้งหมด
3 ปูนฉาบ ให้ใช้ปูนซีเมนต์ผสมเสร็จ ผสมกับน้ำตามคำแนะนำของผู้ผลิต
4 การผสมปูนฉาบ จะต้องนำส่วนผสมรวมกันด้วยเครื่องผสมคอนกรีต การผสมด้วยมือจะอนุมัติให้ได้ในกรณีที่ผู้ควบคุมงานพิจารณาเห็นว่าได้คุณภาพเทียบเท่าผสมด้วยเครื่อง
5 ส่วนผสมของน้ำ จะต้องพอเหมาะกับการฉาบปูน ไม่เปียก หรือแห้งเกินไป ทำให้ปูนฉาบไม่ยึดเกาะผนัง
6. การทำความสะอาด : ภายหลังเสร็จการฉาบปูนแต่ละวัน จะต้องทำความสะอาดปูนที่เปื้อนบนพื้นให้เรียบร้อย ปูนที่เปื้อนบนผนังที่ฉาบตกแต่งแล้ว จะต้องทิ้งให้แห้งเสียก่อน จึงขุดออกได้
ขั้นตอนการฉาบปูน
ก่อนทำการฉาบปูนจะต้องตั้งเฟี้ยมทำระดับ จับเหลี่ยม เสาคาน ขอบ คสล. ต่าง ๆ ให้เรียบร้อยได้แนวดิ่ง และแนวระดับ ผนังและฝ้าเพดานควรจะทำระดับไว้เป็นจุด ๆ ให้ทั่ว เพื่อให้การฉาบปูนรวดเร็ว และเรียบร้อยขึ้น โดยใช้ปูนซีเมนต์ผสมเสร็จสำหรับงานจับเซี้ยมโดยเฉพาะ หรือใช้ปูนฉาบรองพื้นผิวคอนกรีตภายหลัง ปูนที่จับ เซี้ยมทำระดับเสร็จเรียบร้อย และแห้งดีแล้วให้ราดน้ำ หรือฉีดน้ำ ให้บริเวณที่จะฉาบปูนเปียกโดยทั่วกัน แล้วจึงทำการฉาบปูน
2. การฉาบปูนตกแต่ง ก่อนฉาบปูนตกแต่งให้รดน้ำผนังที่จะฉาบปูนให้เปียกโดยทั่วกันเสียก่อน จึงฉาบปูนตกแต่งได้ โดยใช้เกรียงไม้ฉาบกดอัดปูนให้เกาะติดแน่นกับชั้นปูนฉาบรองพื้น ปูนฉาบตกแต่งจะต้องมีความหนาประมาณ 5 มิลลิเมตร ในกรณีที่ระบุให้ปูนฉาบขัดมันให้ฉาบปูนตกแต่งให้ได้ระดับเสียก่อน จึงทำการขัดมันผิวหน้า ปูนฉาบตกแต่งจะต้องได้รับการรดน้ำให้เปียกอยู่ตลอดเวลา 48 ชั่วโมง เพื่อกันการดูดน้ำปูน เเละการเเตกร้าวตามมา
การซ่อมผิวปูนฉาบที่เเตกร้าวเเละไม่จับผนัง ผิวของปูนฉาบที่แตกร้าว และผิวปูนที่ไม่จับผนังหลังจากฉาบปูนแล้ว จะต้องทำการซ่อมแซมโดยสกัดปูนฉาบออกกว้างไม่ต่ำกว่า 10 เซนติเมตร ทำผิวกำแพงให้ขรุขระล้างให้สะอาด ทาด้วยน้ำยาช่วยการยึดเกาะ แล้วจึงทำการฉาบปูนใหม่ที่มีส่วนผสมของน้ำยาช่วยยึดเกาะ ผิวปูนที่ฉาบใหม่ จะต้องเรียบสนิทเป็นเนื้อเดียวกับผิวปูนฉาบเดิม
ที่มา: http://bmw7560.spaces.live.com/blog/cns!EEFA391657DB6F8D!162.entry
ขอบเขตของงาน ให้ฉาบปูนตามมาตรฐานและกรรมวิธีนี้บนผนังก่อ ผนังและเพดานคอนกรีต หรือวัสดุอื่น ๆ ทั่วไปตามที่ระบุไว้ในแบบ ทั้งนี้ยกเว้นพื้นที่วัสดุบางชนิดที่มีการระบุให้ฉาบปูนโดยวัสดุ หรือมาตรฐานเฉพาะของผู้ผลิตวัสดุนั้นช่น บล็อคคอนกรีตมวลเบา
ข้อกำหนดทั่วไป
1 การฉาบปูนทั้งหมด เมื่อฉาบครั้งสุดท้ายเสร็จเรียบร้อยแล้ว ผนังจะต้องเรียบสะอาดสม่ำเสมอ ไม่เป็นรอยคลื่นและรอยเกรียงได้ดิ่งได้ระดับทั้งแนวนอน และแนวตั้ง มุม ทุกมุมจะต้องตรง ได้ดิ่ง และฉาก (เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นพิเศษในแบบรูป)
2 หากมิได้ระบุลักษณ ะ การฉาบปูนเป็นอย่างใดอย่างหนึ่ง ให้ถือว่าเป็นลักษณะ การฉาบปูนเรียบทั้งหมด
3 ปูนฉาบ ให้ใช้ปูนซีเมนต์ผสมเสร็จ ผสมกับน้ำตามคำแนะนำของผู้ผลิต
4 การผสมปูนฉาบ จะต้องนำส่วนผสมรวมกันด้วยเครื่องผสมคอนกรีต การผสมด้วยมือจะอนุมัติให้ได้ในกรณีที่ผู้ควบคุมงานพิจารณาเห็นว่าได้คุณภาพเทียบเท่าผสมด้วยเครื่อง
5 ส่วนผสมของน้ำ จะต้องพอเหมาะกับการฉาบปูน ไม่เปียก หรือแห้งเกินไป ทำให้ปูนฉาบไม่ยึดเกาะผนัง
6. การทำความสะอาด : ภายหลังเสร็จการฉาบปูนแต่ละวัน จะต้องทำความสะอาดปูนที่เปื้อนบนพื้นให้เรียบร้อย ปูนที่เปื้อนบนผนังที่ฉาบตกแต่งแล้ว จะต้องทิ้งให้แห้งเสียก่อน จึงขุดออกได้
ขั้นตอนการฉาบปูน
ก่อนทำการฉาบปูนจะต้องตั้งเฟี้ยมทำระดับ จับเหลี่ยม เสาคาน ขอบ คสล. ต่าง ๆ ให้เรียบร้อยได้แนวดิ่ง และแนวระดับ ผนังและฝ้าเพดานควรจะทำระดับไว้เป็นจุด ๆ ให้ทั่ว เพื่อให้การฉาบปูนรวดเร็ว และเรียบร้อยขึ้น โดยใช้ปูนซีเมนต์ผสมเสร็จสำหรับงานจับเซี้ยมโดยเฉพาะ หรือใช้ปูนฉาบรองพื้นผิวคอนกรีตภายหลัง ปูนที่จับ เซี้ยมทำระดับเสร็จเรียบร้อย และแห้งดีแล้วให้ราดน้ำ หรือฉีดน้ำ ให้บริเวณที่จะฉาบปูนเปียกโดยทั่วกัน แล้วจึงทำการฉาบปูน
การฉาบปูนแบ่งเป็น 2ขั้นตอน คือ
1.การฉาบปูนรองพื้น ภายหลังปูนที่ตั้งเพี้ยมทำระดับแห้งดีแล้ว ให้รดน้ำผนังให้เปียกโดยทั่วกัน แล้วจึงทำการฉาบปูนรองพื้นการฉาบปูนรองพื้นจะต้องให้ได้ระดับใกล้เคียงกับที่ตั้งเพี้ยมไว้ ก่อนที่ปูนฉาบรองพื้นจะเริ่มแข็ง ให้ขัดผิวหน้าของเปียกอยู่เสมอเป็นเวลา 48 ชั่วโมง และทิ้งไว้ให้แห้งก่อน 7 วัน จึงทำการฉาบปูนตกแต่งได้ ปูนฉาบรองพื้นจะมีความหนาประมาณ 13 มิลลิเมตร ในกรณีที่จำเป็นให้ฉาบปูนรองพื้นมากกว่า 1 ครั้ง ได้เพื่อให้ได้ความหนาที่ต้องการ การฉาบปูนรองพื้นบนผิวคอนกรีตและผิวอิฐอัดแรงให้สลัดปูนผิวคอนกรีตและอิฐอัดแรงก่อน ปูนสลัดให้ใช้ส่วนผสมของซีเมนต์ 1 ส่วน ต่อทราย 1 ส่วน ก่อนสลัดปูนจะต้องรดน้ำผิวที่จะสลัดให้เปียกเสียก่อน การสลัดปูนให้สลัดด้วยไม้กวาด และจะต้องมีผิวปูนติดเสมอกันทั้งหมด รดน้ำปูนสลัดเสมอเป็นเวลา 48 ชั่วโมง และทิ้งไว้ให้แห้งจึงทำการฉาบปูนรองพื้นได้2. การฉาบปูนตกแต่ง ก่อนฉาบปูนตกแต่งให้รดน้ำผนังที่จะฉาบปูนให้เปียกโดยทั่วกันเสียก่อน จึงฉาบปูนตกแต่งได้ โดยใช้เกรียงไม้ฉาบกดอัดปูนให้เกาะติดแน่นกับชั้นปูนฉาบรองพื้น ปูนฉาบตกแต่งจะต้องมีความหนาประมาณ 5 มิลลิเมตร ในกรณีที่ระบุให้ปูนฉาบขัดมันให้ฉาบปูนตกแต่งให้ได้ระดับเสียก่อน จึงทำการขัดมันผิวหน้า ปูนฉาบตกแต่งจะต้องได้รับการรดน้ำให้เปียกอยู่ตลอดเวลา 48 ชั่วโมง เพื่อกันการดูดน้ำปูน เเละการเเตกร้าวตามมา
การซ่อมผิวปูนฉาบที่เเตกร้าวเเละไม่จับผนัง ผิวของปูนฉาบที่แตกร้าว และผิวปูนที่ไม่จับผนังหลังจากฉาบปูนแล้ว จะต้องทำการซ่อมแซมโดยสกัดปูนฉาบออกกว้างไม่ต่ำกว่า 10 เซนติเมตร ทำผิวกำแพงให้ขรุขระล้างให้สะอาด ทาด้วยน้ำยาช่วยการยึดเกาะ แล้วจึงทำการฉาบปูนใหม่ที่มีส่วนผสมของน้ำยาช่วยยึดเกาะ ผิวปูนที่ฉาบใหม่ จะต้องเรียบสนิทเป็นเนื้อเดียวกับผิวปูนฉาบเดิม
ที่มา: http://bmw7560.spaces.live.com/blog/cns!EEFA391657DB6F8D!162.entry