ในปัจจุบันการผลิตเหล็กจะต้องเป็นไปตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมทุกประการ ฉะนั้น ปัญหาเรื่องคุณภาพของวัสดุจึงไม่ค่อยมี แต่เนื่องจากเหล็กในมาตรฐานดังกล่าวมีหลาย ประการหลายขนาดและหลายระดับโดยเฉพาะปัจจุบันมีมาตรฐานเหล็กรีดซ้ำและเหล็กกำลังต่ำ ที่ห้าม ใช้กันงานคอนกรีตเสริมเหล็กเพิ่มขึ้น ผู้ควบคุมงานมีหน้าที่ตรวจสอบว่าเหล็กที่นำมา ใช้นั้นต้องมีคุณสมบัติตรงตามที่กำหนดไว้ในแบบ และในบทกำหนดทุกประการ
1. ตรวจชนิด ขนาด ความคลาดเคลื่อน ยี่ห้อของเหล็ก ให้ตรงตามรูปแบบและรายการกำหนด
2. ตรวจดูสนิมที่เกาะเหล็กในเบื้องต้น เพราะเหล็กที่ร้านค้านำมาส่ง ถ้าเป็นสนิมแล้วกว่าจะ ใช้เล็กก่อสร้างหมด สนิมจะลามกินเนื้อเหล็กจนใช้งานไม่ได้
3. แยกกองชนิดของเหล็ก ขนาดของเหล็ก จะต้องเก็บไว้ในที่มีสิ่งรองรับกันชื้น และมีสิ่ง ปกปิดกันฝนได้อย่างดี พร้อมกับมีป้ายบอกชนิดและขนาดเหล็กไว้อย่างชัดเจน
4. ตรวจสอบอย่าให้มีการนำเหล็กที่ผ่านการใช้งานมาแล้ว เข้ามาปะปนกับเหล็กใหม่ เพราะเหล็กที่ผ่านการใช้มาแล้วจะมีกำลังต่ำกว่าเหล็กใหม่ .
5. ตรวจสอบการดัดเหล็ก ในส่วนที่ต้องดัด โดยจะต้องตรวจสอบ ขนาดของส่วนดัด ระยะของส่วนดัดฉาก การบิดตัวของเหล็ก ที่ดัดขึ้นซ้อนกัน การดัดเหล็กหลีกกัน เรียงกันจนไม่มีช่องว่างให้คอนกรีตแทรก
6. ตรวจการงอเหล็ก
ให้ถูกต้องตามมาตรฐาน เพราะจะเกี่ยวกับการคลากของเหล็ก เหล็กที่งอปลายมาก การเกาะจับคอนกรีตก็มีมาก การคลากก็มีน้อย
7.ตรวจการต่อเหล็ก
จะต้องยึดตามหลักวิชาการ ที่กำหนดว่าเหล็กเสริมที่มีขนาดเล็กกว่า 25 มิลลิเมตร จะต่อด้วยวิธีทาบ ระยะทาบที่น้อยที่สุดมีดังนี้
7.1 สำหรับการต่อเหล็กเสริมรับแรงดึง เหล็กข้ออ้อย SD 30 หรือน้อยกว่า มีระยะทาบ 24 เท่าของเส้นผ่านศูนย์กลาง เหล็กข้ออ้อย SD 40 มีระยะทาบ 30 เท่าของเส้นผ่านศูนย์กลาง เหล็กข้ออ้อย SD 50 มีระยะทาบ 36 เท่าของเส้นผ่านศูนย์กลาง
- ควรหลีกเลี่ยงการต่อเหล็กเสริม ณ จุดที่เกิดแรงดึงสูงสุดเท่าที่จะทำได้ แต่หากจำเป็น ควรใช้วิธีต่อเชื่อม หรือวิธีต่อทาบโดยให้มีการถ่ายแรงได้เต็มที่
- ถ้าระยะช่องว่างทางด้านข้างของเหล็กที่ต่อกันแคบกว่า 12 เท่าของเส้นผ่านศูนย์กลาง หรืออยู่ห่างจากขอบนอกเป็นระยะไม่ถึง 0.15 เมตร หรือ 6 เท่าของเส้นผ่านศูนย์กลาง จะต้อง เพิ่มระยะทาบอีกร้อยละ 20
7.2 สำหรับการต่อเหล็กเสริมรับแรงอัด
- ถ้าคอนกรีตมีกำลังอัดเท่ากับหรือมากกว่า 200 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร เหล็กข้ออ้อย SD 30 หรือน้อยกว่า มีระยะทาบ 20 เท่าของเส้นผ่านศูนย์กลาง เหล็กข้ออ้อย SD 40 มีระยะทาบ 24 เท่าของเส้นผ่านศูนย์กลาง เหล็กข้ออ้อย SD 50 มีระยะทาบ 30 เท่าของเส้น ผ่านศูนย์กลาง
-สำหรับคอนกรีตที่มีกำลังอัดต่ำกว่า 200 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตรให้เพิ่มระยะทาบอีก 1/3 ของค่าข้างบนนี้ ความยาวของเหล็กเส้นกลมผิวเรียบที่นำมาทาบต่อกันต้องไม่น้อยกว่า 2 เท่าของค่าที่กำหนดสำหรับ เหล็กข้ออ้อย และไม่ว่ากรณีใดๆ ความยาวของรอยทาบต้องไม่น้อยกว่า 0.30 เมตร ถ้าต้องนำเหล็กที่มีขนาดใหญ่มาทาบกับเหล็กที่มีขนาดเล็ก ให้ใช้ระยะทาบของเหล็ก ขนาดใหญ่ ถ้าเป็นเหล็กที่มีขนาดใหญ่กว่า 25 มิลลิเมตรให้ใช้วิธีต่อเชื่อม โดยรอยต่อเชื่อม ที่ถูกต้อง ต้องสามารถรับแรงดึงได้อย่างน้อยร้อยละ 125 ของค่ากำลังครากของเหล็กตามที่ระบุไว้
8.ตรวจการจัดเหล็ก
โดยจะต้องจัดระยะหรือช่องว่างของเหล็กใน เสริมให้เป็นไปตามที่ระบุไว้ในแบบ การเสริมเหล็ก ในคอนกรีตมากเกินความจำเป็น มิได้มีข้อเสียแต่เพียงในเรื่องของการสิ้นเปลืองและไม่ประหยัด เท่านั้น บางครั้งทำให้มีผลเสียถึงโครงสร้างขององค์อาคารอีกด้วย ทั้งนี้ เนื่องจากวัสดุหยาบ ซึ่งเป็นส่วนผสมของคอนกรีต ไม่สามารถแทรกเหล็กลงไปในช่วงต่อตอนล่าง และเป็นตัวกักกัน คอนกรีตไม่ให้ลงไปข้างล่างด้วย ทำให้เกิดช่องว่างในเนื้อคอนกรีตขึ้นที่เรียกว่า คอนกรีตโพรง
9. ตรวจการผูกเหล็ก
ว่ามีการผูกลวดในส่วนที่ผ่านกัน และมีการต่อเนื่องกันลักษณะการผูกลวดถูกต้องหรือไม่ ต้องผูก ให้ถูกต้องและแน่นหนา ตลอดจนเก็บปลายลวดที่เหลือต้องให้เรียบร้อย
10. เหล็กที่ผูกไว้นาน แต่ยังไม่ได้เทคอนกรีตอาจเกิดสนิมขุมขึ้นได้
ควรที่จะขจัดสนิมออกบางก่อนที่จะเทคอนกรีต มิฉะนั้นอาจมีผลเสียต่อโครงสร้างคอนกรีต แต่ไม่ต้องถึงกับขัดให้เป็นมัน เพราะแทนที่จะเป็นผลดีกับเป็นผลเสียในการยึดหน่วง ของคอนกรีตกับเหล็ก
11. การคดงอของเหล็กที่ผูกไว้
สาเหตุจากการถูกเหยียบ หรือถูกงัด ถ้าเหล็กคดงอน้อยอาจยอมให้ดัดกลับสภาพเดิมได้ แต่ถ้างอมาก ต้องแก้ไขโดยเปลี่ยนเหล็กเสียใหม่ เพราะเหล็ก ที่คดงอนอกจากจะมีผล กับการรับกำลังแล้ว บางครั้งจะเป็นอุปสรรคต่อการแทรกตัวของวัสดุหยาบในส่วนผสม ของคอนกรีตด้วย
12. การหนุนเหล็กและรองเหล็ก
โดยทั่วไป โครงเหล็กจะต้องมีการหนุนให้ห่างจากแบบเท่ากับความหนาของคอนกรีตที่หุ้มเหล็ก ลูกปูนที่หนุนจะต้องหนุนเป็นระยะในช่วงที่เหล็กไม่สามารถแอ่นตัวได
ที่มา : http://www.thaihomemaster.com/showinformation.php?TYPE=12&ID=371
การตรวจเหล็กและลวดผูกเหล็ก มีดังนี้
2. ตรวจดูสนิมที่เกาะเหล็กในเบื้องต้น เพราะเหล็กที่ร้านค้านำมาส่ง ถ้าเป็นสนิมแล้วกว่าจะ ใช้เล็กก่อสร้างหมด สนิมจะลามกินเนื้อเหล็กจนใช้งานไม่ได้
3. แยกกองชนิดของเหล็ก ขนาดของเหล็ก จะต้องเก็บไว้ในที่มีสิ่งรองรับกันชื้น และมีสิ่ง ปกปิดกันฝนได้อย่างดี พร้อมกับมีป้ายบอกชนิดและขนาดเหล็กไว้อย่างชัดเจน
4. ตรวจสอบอย่าให้มีการนำเหล็กที่ผ่านการใช้งานมาแล้ว เข้ามาปะปนกับเหล็กใหม่ เพราะเหล็กที่ผ่านการใช้มาแล้วจะมีกำลังต่ำกว่าเหล็กใหม่ .
5. ตรวจสอบการดัดเหล็ก ในส่วนที่ต้องดัด โดยจะต้องตรวจสอบ ขนาดของส่วนดัด ระยะของส่วนดัดฉาก การบิดตัวของเหล็ก ที่ดัดขึ้นซ้อนกัน การดัดเหล็กหลีกกัน เรียงกันจนไม่มีช่องว่างให้คอนกรีตแทรก
6. ตรวจการงอเหล็ก
ให้ถูกต้องตามมาตรฐาน เพราะจะเกี่ยวกับการคลากของเหล็ก เหล็กที่งอปลายมาก การเกาะจับคอนกรีตก็มีมาก การคลากก็มีน้อย
7.ตรวจการต่อเหล็ก
จะต้องยึดตามหลักวิชาการ ที่กำหนดว่าเหล็กเสริมที่มีขนาดเล็กกว่า 25 มิลลิเมตร จะต่อด้วยวิธีทาบ ระยะทาบที่น้อยที่สุดมีดังนี้
7.1 สำหรับการต่อเหล็กเสริมรับแรงดึง เหล็กข้ออ้อย SD 30 หรือน้อยกว่า มีระยะทาบ 24 เท่าของเส้นผ่านศูนย์กลาง เหล็กข้ออ้อย SD 40 มีระยะทาบ 30 เท่าของเส้นผ่านศูนย์กลาง เหล็กข้ออ้อย SD 50 มีระยะทาบ 36 เท่าของเส้นผ่านศูนย์กลาง
- ควรหลีกเลี่ยงการต่อเหล็กเสริม ณ จุดที่เกิดแรงดึงสูงสุดเท่าที่จะทำได้ แต่หากจำเป็น ควรใช้วิธีต่อเชื่อม หรือวิธีต่อทาบโดยให้มีการถ่ายแรงได้เต็มที่
- ถ้าระยะช่องว่างทางด้านข้างของเหล็กที่ต่อกันแคบกว่า 12 เท่าของเส้นผ่านศูนย์กลาง หรืออยู่ห่างจากขอบนอกเป็นระยะไม่ถึง 0.15 เมตร หรือ 6 เท่าของเส้นผ่านศูนย์กลาง จะต้อง เพิ่มระยะทาบอีกร้อยละ 20
7.2 สำหรับการต่อเหล็กเสริมรับแรงอัด
- ถ้าคอนกรีตมีกำลังอัดเท่ากับหรือมากกว่า 200 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร เหล็กข้ออ้อย SD 30 หรือน้อยกว่า มีระยะทาบ 20 เท่าของเส้นผ่านศูนย์กลาง เหล็กข้ออ้อย SD 40 มีระยะทาบ 24 เท่าของเส้นผ่านศูนย์กลาง เหล็กข้ออ้อย SD 50 มีระยะทาบ 30 เท่าของเส้น ผ่านศูนย์กลาง
-สำหรับคอนกรีตที่มีกำลังอัดต่ำกว่า 200 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตรให้เพิ่มระยะทาบอีก 1/3 ของค่าข้างบนนี้ ความยาวของเหล็กเส้นกลมผิวเรียบที่นำมาทาบต่อกันต้องไม่น้อยกว่า 2 เท่าของค่าที่กำหนดสำหรับ เหล็กข้ออ้อย และไม่ว่ากรณีใดๆ ความยาวของรอยทาบต้องไม่น้อยกว่า 0.30 เมตร ถ้าต้องนำเหล็กที่มีขนาดใหญ่มาทาบกับเหล็กที่มีขนาดเล็ก ให้ใช้ระยะทาบของเหล็ก ขนาดใหญ่ ถ้าเป็นเหล็กที่มีขนาดใหญ่กว่า 25 มิลลิเมตรให้ใช้วิธีต่อเชื่อม โดยรอยต่อเชื่อม ที่ถูกต้อง ต้องสามารถรับแรงดึงได้อย่างน้อยร้อยละ 125 ของค่ากำลังครากของเหล็กตามที่ระบุไว้
8.ตรวจการจัดเหล็ก
โดยจะต้องจัดระยะหรือช่องว่างของเหล็กใน เสริมให้เป็นไปตามที่ระบุไว้ในแบบ การเสริมเหล็ก ในคอนกรีตมากเกินความจำเป็น มิได้มีข้อเสียแต่เพียงในเรื่องของการสิ้นเปลืองและไม่ประหยัด เท่านั้น บางครั้งทำให้มีผลเสียถึงโครงสร้างขององค์อาคารอีกด้วย ทั้งนี้ เนื่องจากวัสดุหยาบ ซึ่งเป็นส่วนผสมของคอนกรีต ไม่สามารถแทรกเหล็กลงไปในช่วงต่อตอนล่าง และเป็นตัวกักกัน คอนกรีตไม่ให้ลงไปข้างล่างด้วย ทำให้เกิดช่องว่างในเนื้อคอนกรีตขึ้นที่เรียกว่า คอนกรีตโพรง
9. ตรวจการผูกเหล็ก
ว่ามีการผูกลวดในส่วนที่ผ่านกัน และมีการต่อเนื่องกันลักษณะการผูกลวดถูกต้องหรือไม่ ต้องผูก ให้ถูกต้องและแน่นหนา ตลอดจนเก็บปลายลวดที่เหลือต้องให้เรียบร้อย
10. เหล็กที่ผูกไว้นาน แต่ยังไม่ได้เทคอนกรีตอาจเกิดสนิมขุมขึ้นได้
ควรที่จะขจัดสนิมออกบางก่อนที่จะเทคอนกรีต มิฉะนั้นอาจมีผลเสียต่อโครงสร้างคอนกรีต แต่ไม่ต้องถึงกับขัดให้เป็นมัน เพราะแทนที่จะเป็นผลดีกับเป็นผลเสียในการยึดหน่วง ของคอนกรีตกับเหล็ก
11. การคดงอของเหล็กที่ผูกไว้
สาเหตุจากการถูกเหยียบ หรือถูกงัด ถ้าเหล็กคดงอน้อยอาจยอมให้ดัดกลับสภาพเดิมได้ แต่ถ้างอมาก ต้องแก้ไขโดยเปลี่ยนเหล็กเสียใหม่ เพราะเหล็ก ที่คดงอนอกจากจะมีผล กับการรับกำลังแล้ว บางครั้งจะเป็นอุปสรรคต่อการแทรกตัวของวัสดุหยาบในส่วนผสม ของคอนกรีตด้วย
12. การหนุนเหล็กและรองเหล็ก
โดยทั่วไป โครงเหล็กจะต้องมีการหนุนให้ห่างจากแบบเท่ากับความหนาของคอนกรีตที่หุ้มเหล็ก ลูกปูนที่หนุนจะต้องหนุนเป็นระยะในช่วงที่เหล็กไม่สามารถแอ่นตัวได
ที่มา : http://www.thaihomemaster.com/showinformation.php?TYPE=12&ID=371
Tag :
คอนกรีตเสริมเหล็ก