1.live load, finishing load -- live load ใช้ 150 หรือ 200 kg/sq.m. ส่วน finishing load ไม่น่าจะน้อยกว่า 100 kg/sq.m. (Topping 0.05 m. ประมาณ 120 kg/sq.m) เนื่องจากเป็นไปได้มากว่าพื้นเอง อาจจะหนาบางไม่เท่ากัน ระดับไม่ดี เจ้าของบ้านมีการเปลี่ยนแปลงเททับหลายครั้ง"
2. ค่า parameter ต่างๆ ได้กล่าวไว้แล้ว ค่านี้จะต่ำกว่าการออกแบบโครงสร้างขนาดใหญ่ เนื่องจากสภาพการควบคุมงานต่างกัน ซีเรียสนะน้อง คอนกรีตตรา farm house หาได้ไม่ยาก ส่วนเหล็กควรใช้เหล็ก SD- 30 เพราะหาซื้อไม่ยากและดัดง่ายกว่าเหล็ก SD-40
การเลือกใช้ค่า parameter , คุณภาพงาน ก่อสร้าง , ระยะเสา สามอย่างนี้ต้องสัมพันธ์กัน เช่นเจ้าของบ้านต้องการความโอ่โถง 7x7 แล้วใช้ผู้ รับเหมาไม่ค่อยดี คุณต้องตีค่า parameter ต่ำ ปรากฎว่าคานออกมาใหญ่มาก คุณก็ต้องชื้แจงไป ผมว่าถ้าจะสร้างกันแบบง่ายๆควรใช้ span คานน้อยๆ 4-5 เมตร ถ้าจะเอาโอ่โถงก็ต้องเลือกว่าจะใช้ผู้รับเหมาชั้นดีหรือจะเอาโครงสร้างยักษ์
3. การวาง ผังคาน ระยะเสาที่ง่ายและราคาถูกคือ 4 คูณ 4 ถ้ามากกว่านี้ทดลองซอยคานในลักษณะต่างๆเปรียบเทียบกันว่า มีข้อดีข้อเสียอย่างไร เช่นคานแม่รับคานซอยที่ยาว 6-7 เมตร ซอย 3 ช่องดีกว่าสองช่อง เพราะอะไรให้ทาย ( ก. พื้นสำเร็จ ข. bending moment diagram ค.ถูกทุกข้อ) เทคนิคการวางผังคานอยู่ที่ประสบการ์ณครับ ผมเองถ้าเจอโครงสร้างใหญ่ก็ยังวางได้ไม่สวยเหมือนระดับป๋าๆท่าน
4. เสาเข็ม ฐานราก มีแง่คิดสองแง่คือ
4.1 หลักวิศวกรรมโครงสร้าง -- ใช้เข็มหน้าตัดเดียวกัน ยาวเท่ากันตลอดทั้งโครงสร้าง และพยายามให้น้ำหนักต่อต้นใกล้เคียงกันที่สุด เพื่อลด differential settlement
4.2. ราคา - ฐานรากที่ราคาถูกที่สุดคือฐานรากเข็มต้นเดียว ขึ้นไปอีกหน่อยคือ 2 ต้น 4 ต้น และ 3 ต้น (ไม่อยากใช้เข็ม 3 ต้นแต่บางครั่งต้องใช้เพราะ เหตุผลทางโครงสร้างในข้อ 4.1 )
การเลือกใช้เข็ม และ ระบบผังคานจะสัมพันธ์กัน เพื่อให้ได้โครงสร้างที่ประหยัด สำหรับงานแรกคุณน่าจะลองทำ alternative สองสามแบบเปรียบเทียบกันดู
5. การหาแรงในโครงสร้างโดยการวิเคราะห์ หรือใช้ค่า coefficience ตาม code คุณจะไม่มั่นใจว่าจะเลือกค่าไหนดี ควรจะวิเคราะห์จริงประกอบ ทำบ่อยๆจะพอเห็นแนวทางได้ ตัวอย่างเช่น ถ้ามีคานระยะ 4-3-4 uniform load ต่อเนื่องกัน(ไม่มี cantilever ช่วยถ่วงปลาย) ตัวกลาง 3 เมตรเป็นโมเมนต์ ลบทั้งคาน (อย่าทำตาม code ดุ่ยๆ) เหล็กบนวิ่งยาวไปเลย ไม่ต้องไปลดตรงกลางคาน ลองวิเคราะห์ดูหลายๆแบบสำหรับ load pattern แบบต่างๆ
6. ปลายคานถ้ามี cantilever ซัก 20 เปอร์เซนต์ของ exterior span ที่ต่อเนื่องกัน ช่วยลด M+ กลาง คาน และ M- ที่ปลายอีกด้านได้
7. ผมเคยแสดงความเห็นเรื่องเสา 15 ซม. ไปแล้ว ซึ่งบางครั้งน้ำหนักน้อยอาจจะใช้ได้ตามรายการคำนวน แต่ปัญหาจากการทำงานมีมาก เนื่องจากขนาดเล็ก เทคอนกรีตให้ได้คุณภาพที่ดียาก คิดว่าน่าจะใช้อย่างน้อย 20 ซม.
8. เสาตอม่อควรจะใหญ่กว่าเสาจากชั้น 1 ไปชั้น 2 อยู่ 5 ซม. เช่น เสาชั้น 1 ขนาด 20x20 เสาตอม่อก็ใช้ 25x25 โดยวิ่งเหล็กตรงไม่ ต้องดุ้ง และจะได้ระยะ covering พอดี ประมาณ 5 cm. (ไป ดู code เรื่อง covering สำหรับโครงสร้างฝังดินนะ) การที่เหล็กวิ่งตรงได้จะแข็งแรงกว่า อีกทั้งหน้าตัดคอนกรีตที่เพิ่มขึ้นจะรับน้ำหนักชั้น 1 ได้พอดี(ในหลายๆกรณี ตัวเลขจะลงตัวประมาณนั้น)
9. ที่มีปัญหามากคือเรื่องการทรุดตัวของ ชั้นดินกรุงเทพฯ ระวังบริเวณที่โครงสร้างคนละระบบมาเจอกัน เช่น
9.1 รั้วทาวน์เฮาส์ตรงที่ก่อชนผนังบ้าน ไม่รู้วิศกรโครงการเค้าไปทำอะไรอยู่นะครับร้าวทั้งโครงการก็มี
9.2 พื้นคอนกรีตลานจอดรถ ถ้าไม่แยกให้ดีมักโดน footing ง้างปูดขึ้นมา
9.3 ช่อง shaft ข้างๆ เสาโรงรถ กรณีที่พื้นโรงรถเป็น slab on ground พี่ แกก่อผนังช่อง shaft วางบนพื้นเลย ไม่กี่ปีก็ร้าว (ควรจะมีคานรัดโคนผนัง และใช้เหล็กรับแรงดึงขึ้นไปฝากคานด้านบน)
9.4 ผนังใต้คานชั้นล่างก่อวางบนดิน ก็ร้าวด้วยสาเหตุเดียวกัน (ตอนหล่อคาน ฝังเหล็กห้อยลงมารับก็ได้)
9.5 ท่อน้ำทิ้ง ท่อส้วม ที่ออกจากบ้านมาวางบนดิน มักจะแตกจากการทรุดตัวของดิน โดยเฉพาะกรุงเทพฯ แล้วโครงสร้างใช้เข็มยาว detail ตรงนี้ขอเสนอทาง เลือกสองทาง เช่น
9.5.1 ท่อส้วมที่วางมาจากใต้พื้นอาคาร ให้ถ่ายน้ำหนักลงอาคารโดยใช้ HANGER (ชุบสังกะสีกันสนิมด้วย) พอมาถึงจุดที่จะเปลี่ยนมาวางบนดิน ต้องมี FLEX ที่ เห็นมีขายกันเป็นท่อดำๆให้ตัวได้ไม่มาก สำหรับถังบำบัด ผมใช้สองท่อนเลย
9.5.2 ใต้ชักโครก ต่อท่อตรงลงมาโดยใช้ท่อสามนิ้ว แล้วสอด(แนวดิ่ง)ใส่ในท่อ 4 นิ้ว ระยะซ้อนกัน 40 ซม (สำหรับแถวบางพลีขอ 60 ซม.เนื่องจากอัตราส่วนการ ทรุดตัวสูงมาก) คือส่วนสามนิ้วยึดติดกับอาคาร ส่วน4นิ้ว วางบนดิน ให้มีระยะซ้อนที่จะค่อยๆน้อยลงเมื่อดินทรุด
9.5.3 หรือวิธีอื่นๆที่คุณอยากจะแนะนำ
10. รูปแบบโครงสร้างที่พึงหลีกเลี่ยง
10.1 กันสาดแบบ CANTILEVER SLAB แบบไม่มีคาน ซึ่งตามหลักการแล้ว เหล็กแนวสั้นที่รับ MOMENT จะอยู่บน ส่วนเหล็กทางยาวจะอยู่ล่าง หลายครั้งระยะยื่นไม่มาก จะออกแบบได้ความหนาประมาณ 8-10 ซม. ที่สำคัญคือเหล็กสั้น ถ้าระดับผิดสองสามเซ็นติเมตร อาจจะกันสาดพับได้ง่ายๆนะครับ
10.2 กันสาดแบบ CANTILEVER BEAM ยี่นจากเสาโดยไม่มีคานต่อเนื่องรับ (ใช้ กันตามตึกแถวที่มีชั้นลอยอยู่ข้างหลังทำให้ระดับพื้นชั้นสองสูงขึ้นไป ก็จะเอากันสาดมาไว้ที่ระดับพื้นชั้นลอย) ตามหลักการแล้ว MOMENT จะถ่ายลงเสา ซึ่งต้องออกแบบเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า เป็นดั้งรับ MOMENT ตัวนี้ ตอนทำจริง คานตัวนี้ควรจะหล่อหลังจากที่ทำโครงสร้างพื้นชั้นสองเรียบร้อยแล้ว บางครั้งเกิดการผิดพลาดคือหล่อคานกันสาดก่อน และถอดแบบคานกันสาดก่อนทำโครงสร้างพื้นชั้นสอง เสาจะหักหรือเอียงออกมาครับ ถ้าจะยอมเปลืองคานอีกซักช่วงวิ่งมาจากพื้นชั้นลอย แน่นอนกว่า
11. การใช้พื้นสำเร็จ ห้ามใช้บริเวณที่โดนน้ำ เฉพาะพื้นห้องน้ำ ระเบียงที่โดนน้ำ ใช้พื้นหล่อในที่ ผสมสารกันซึม (คือ PLASTICIZER นั่น เอง)
12. ดาด ฟ้าควรจะหลีกเลี่ยงการใช้พื้นสำเร็จ เนื่องจากมีโอกาสรั่วมาก ถ้าจะทำต้องใช้เป็นพื้นหล่อในที่ น่าจะใช้หนา 12 ซม. เหล็กบนมากๆ กัน (หรือจริงๆแล้วคือคุมรอยแตก) รอยแตกจากการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ หรือให้ดีทำหลังคาคลุม
13. ไม่ควรปล่อยผนังบ้านตากแดด จะทำให้สะสมความร้อนไว้ ควรจะมีกันสาดต่างๆ หรือปลูกต้นไม้บังแดด
ที่มา : https://goo.gl/l3191M