งานติดตั้งผนังคอนกรีตสำเร็จรูป โดยโครงการนี้เป็นการก่อสร้างผนังรอบอาคารโรงงาน โดยผู้ออกแบบใช้วัสดุผนังคอนกรีตสำเร็จรูปติดตั้งบนโครงสร้างเหล็กโดยใช้วิธีการเชื่อมจากแผ่นผนังไปยังโครงสร้างเหล็ก โดยลักษณะการทำงานเริ่มจากการใช้รถทาวเวอร์เครนหิ้วแผ่นผนังชิ้นงาน ไปที่จุดที่จะทำการติดตั้ง
และคนงานติดตั้งจะจัดแผ่นผนังให้ได้ตามแนวและระดับที่ได้ทำการหาไว้ก่อนเริ่มงาน หลังจากนั้นก็ทำการเชื่อมติดแบบหลวม(เชื่อมไม่เต็มเพื่อให้ทาวเวอร์เครนสามารถเอาสริงออกไปก่อน) เมื่อปลดสริงแล้วก็จะทำการเชื่อมแน่น และรอทำการติดตั้งแผ่นต่อไปโดยรอยต่อระหว่างแผ่นจะใช้วัสดุยาแนวเป็นตัวเก็บงานระหว่างรอยต่อแผ่น โดยงานติดตั้งผนังคอนกรีตสำเร็จรูปนี้ สามารถแบ่งต้นทุนทางด้านคุณภาพในงานได้ดังนี้
1. ต้นทุนการป้องกัน (Prevention Cost)
งานการป้องกันการทำงานในที่สูง คนงานจะต้องสวมเข็มขัดไว้ยึดติดระหว่างตัวเองกับโครงสร้างอาคารเพื่อป้องกันการตกหล่นงานนั่งร้าน ภายรอบตัวอาคารจะต้องประกอบนั่งร้านที่เป็นไปตามข้อกำหนดการติดตั้งนั่งร้านในงานก่อสร้างงานเชื่อม ตัวสายไฟฟ้า ตู้เชื่อมไฟฟ้า ปลั๊กต่อระหว่างตัวตู้กับสายไฟฟ้า แว่นตาป้องกันสะเก็ดไฟ จะต้องถูกต้องเป็นไปตามข้อกำหนดในงานก่อสร้าง
2. ต้นทุนการตรวจสอบและทดสอบ (Appraisal Cost)
การตรวจสอบคุณภาพวัสดุ ขนาดเป็นไปตามแบบหรือไม่ จุดติดตั้งถูกต้องหรือไม่การตรวจสอบรอยเชื่อม เป็นไปตามแบบหรือไม่ ขนาดลวดเชื่อม , ความยาวรอยเชื่อมวัสดุยาแนว เป็นไปตามวัสดุที่ผู้ออกแบบอนุมัติงานสีกันสนิม งานเหล็กที่ทำการเชื่อมต้องทำการทาสีกันสนิมหลังเชื่อมติดแล้ว
3. ต้นทุนความผิดพลาดก่อนส่งงาน (Internal Failure Cost)
ชิ้นงานแผ่นผนังคอนกรีต เกิดการแตก บิ่น ระหว่างการติดตั้ง ขนาดไม่เป็นไปตามแบบอนุมัติการผลิต จุดติดตั้งไม่ตรงกับจุดเชื่อมที่โครงสร้างเหล็กรอยต่อระหว่างแผ่นเว้นร่องไว้ไม่ได้ตามแบบ ทำให้วัสดุยาแนวมีขนาดความกว้างใหญ่บ้าง เล็กบ้าง
4. ต้นทุนความผิดพลาดหลังส่งงาน (External Failure Cost)
รอยเชื่อมไม่ได้มาตรฐานทุกจุดเชื่อมต้องมาทำการแก้ไขใหม่วัสดุยาแนวมีความหนาไม่เท่ากัน เมื่อมีฝนตกทำให้มีน้ำรั่วเข้าไปในอาคาร
ที่มา : Panithan Nichang
จาก http://learners.in.th/blog/5422-7336/230984
และคนงานติดตั้งจะจัดแผ่นผนังให้ได้ตามแนวและระดับที่ได้ทำการหาไว้ก่อนเริ่มงาน หลังจากนั้นก็ทำการเชื่อมติดแบบหลวม(เชื่อมไม่เต็มเพื่อให้ทาวเวอร์เครนสามารถเอาสริงออกไปก่อน) เมื่อปลดสริงแล้วก็จะทำการเชื่อมแน่น และรอทำการติดตั้งแผ่นต่อไปโดยรอยต่อระหว่างแผ่นจะใช้วัสดุยาแนวเป็นตัวเก็บงานระหว่างรอยต่อแผ่น โดยงานติดตั้งผนังคอนกรีตสำเร็จรูปนี้ สามารถแบ่งต้นทุนทางด้านคุณภาพในงานได้ดังนี้
ภาพการติดตั้งชิ้นงานผนังคอนกรีตสำเร็จรูป |
1. ต้นทุนการป้องกัน (Prevention Cost)
งานการป้องกันการทำงานในที่สูง คนงานจะต้องสวมเข็มขัดไว้ยึดติดระหว่างตัวเองกับโครงสร้างอาคารเพื่อป้องกันการตกหล่นงานนั่งร้าน ภายรอบตัวอาคารจะต้องประกอบนั่งร้านที่เป็นไปตามข้อกำหนดการติดตั้งนั่งร้านในงานก่อสร้างงานเชื่อม ตัวสายไฟฟ้า ตู้เชื่อมไฟฟ้า ปลั๊กต่อระหว่างตัวตู้กับสายไฟฟ้า แว่นตาป้องกันสะเก็ดไฟ จะต้องถูกต้องเป็นไปตามข้อกำหนดในงานก่อสร้าง
2. ต้นทุนการตรวจสอบและทดสอบ (Appraisal Cost)
การตรวจสอบคุณภาพวัสดุ ขนาดเป็นไปตามแบบหรือไม่ จุดติดตั้งถูกต้องหรือไม่การตรวจสอบรอยเชื่อม เป็นไปตามแบบหรือไม่ ขนาดลวดเชื่อม , ความยาวรอยเชื่อมวัสดุยาแนว เป็นไปตามวัสดุที่ผู้ออกแบบอนุมัติงานสีกันสนิม งานเหล็กที่ทำการเชื่อมต้องทำการทาสีกันสนิมหลังเชื่อมติดแล้ว
3. ต้นทุนความผิดพลาดก่อนส่งงาน (Internal Failure Cost)
ชิ้นงานแผ่นผนังคอนกรีต เกิดการแตก บิ่น ระหว่างการติดตั้ง ขนาดไม่เป็นไปตามแบบอนุมัติการผลิต จุดติดตั้งไม่ตรงกับจุดเชื่อมที่โครงสร้างเหล็กรอยต่อระหว่างแผ่นเว้นร่องไว้ไม่ได้ตามแบบ ทำให้วัสดุยาแนวมีขนาดความกว้างใหญ่บ้าง เล็กบ้าง
4. ต้นทุนความผิดพลาดหลังส่งงาน (External Failure Cost)
รอยเชื่อมไม่ได้มาตรฐานทุกจุดเชื่อมต้องมาทำการแก้ไขใหม่วัสดุยาแนวมีความหนาไม่เท่ากัน เมื่อมีฝนตกทำให้มีน้ำรั่วเข้าไปในอาคาร
ที่มา : Panithan Nichang
จาก http://learners.in.th/blog/5422-7336/230984
Tag :
ก่อสร้างงานคอนกรีต,
งานก่อสร้าง