บ่อเกรอะ และถังบำบัดน้ำเสีย เลือกอย่างไรให้เหมาะสม


ระบบระบายน้ำเสียภายในบ้าน : ตอนที่ 4

การเลือกใช้ถังบำบัดน้ำเสียเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่มักเป็นคำถามเมื่อสร้างบ้านใหม่และต้องดำเนินการติดตั้งระบบระบายน้ำเสีย ซึ่งวัตถุประสงค์หลักของการติดตั้งถังบำบัดน้ำเสียนี้ก็เพื่อช่วยกรองของเสียและสิ่งปนเปื้อนที่มีอยู่ในน้ำทิ้งให้ได้มากที่สุดก่อนที่จะทำการปล่อยลงสู่ระบบสาธารณะ ซึ่งปัจจุบันมีถังบำบัดอยู่หลายประเภท แต่ละประเภทแตกต่างกันอย่างไรวันนี้เราจะมาไขข้อข้องใจเรื่องนี้กันนะคะ

ในอดีตการบำบัดน้ำเสียจากโถสุขภัณฑ์ที่เรารู้จักกันดีก็คือ ระบบบ่อเกรอะบ่อซึม ซึ่งในการสร้างบ้านใหม่สมัยก่อนนั้นจะต้องมีบ่อบำบัดน้ำเสียหรือที่เราเรียกว่า “บ่อเกรอะ” และ “บ่อซึม” เป็นการนำถังคอนกรีตสำเร็จรูปทรงกระบอก มาต่อกันและฝังไว้ในดิน จำนวน 2 บ่อ บ่อที่ 1  เรียกว่าบ่อเกรอะ (Septic Tank) ทำหน้าที่รับของเสียจากภายในบ้านโดยตรง จะกักน้ำเสียไว้ระยะหนึ่ง (ประมาณ 1-3 วัน) เพื่อให้ของแข็งที่ปะปนมากับน้ำเสียตกตะกอนลงด้านล่าง ซึ่งเป็นการแยกกากและยังเป็นการปรับสภาพน้ำเสียโดยการย่อยสลายตามธรรมชาติ ทั้งนี้ ควรทำการสูบกากของเสียและตะกอนทิ้งเพื่อทำความสะอาด ทุกๆ 3-5 ปี

ถัดมาส่วนที่ 2 หรือที่เราเรียกว่าบ่อซึม ( Seepage Pit ) น้ำเสียซึ่งได้แยกกากเรียบร้อยแล้วจากบ่อที่ 1 จะถูกส่งต่อมายังบ่อนี้ จากนั้นแล้วจะมีการกระจายน้ำออกไปตามดินโดยรอบ โดยผนังของบ่อซึมจะทำด้วยวัสดุพรุน (Porous Materials) หรือ ใช้ท่อคอนกรีตเจาะรูเพื่อให้น้ำค่อยๆ ซึมออกสู่ชั้นดินรอบบ่อ จึงไม่เหมาะกับบริเวณลุ่มน้ำท่วมถึง หรือที่ที่ระดับน้ำใต้ดินสูง เนื่องจากน้ำเสียจะไม่สามารถระบายออกได้ ซึ่งอาจก่อให้เกิดปัญหาส้วมเต็มในอนาคต นอกจากนี้ ตำแหน่งที่ตั้งควรอยู่บริเวณที่ห่างไกลจากแหล่งน้ำที่ใช้ในการอุปโภคบริโภค เพื่อสุขอนามัยของผู้อยู่อาศัยแถวนั้น

ต่อมาในสมัยปัจจุบัน พื้นที่ในการก่อสร้างบ้านเริ่มมีจำนวนน้อยลงเรื่อยๆ ดังนั้นปัจจัยต่างๆ ที่เป็นจุดด้อยของบ่อเกรอะบ่อซึมจึงถูกเต็มเติมและพัฒนาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบำบัดน้ำ จึงมีการคิดค้นถังบำบัดน้ำเสียเพื่อมาทดแทนระบบบ่อเกรอะ-บ่อซึม  โดยระบบบำบัดน้ำเสียมี 2 ชนิดคือ

1.ระบบแยกส่วนเกรอะและส่วนกรองออกจากกัน ซึ่งชนิดนี้จะมีสองถัง เหมาะกับอาคารขนาดใหญ่ที่มีอัตราการเกิดน้ำเสียค่อนข้างสูง รวมถึงต้องใช้พื้นที่ในการติดตั้งค่อนข้างมาก ตัวอย่างถังบำบัด อาทิเช่น ถังเกรอะรุ่น COTTO Nano septic (CNS) ใช้ร่วมกับ ถังกรองชนิดไม่เติมอากาศ รุ่น COTTO Nano Filter (CNL)  หรือ ถังกรองชนิดเติมอากาศ รุ่น COTTO Nano Fixed Film(CNFF)

2. ชนิดที่มีการรวมส่วนเกรอะและส่วนกรองเอาไว้ในถังเดียวกัน ซึ่งนิยมใช้ในบ้านพักอาศัยโดยทั่วไป เนื่องจากประหยัดพื้นที่ติดตั้งและประหยัดค่าใช้จ่ายค่ะ อาทิเช่น ถังบำบัดแบบรวมชนิดไม่เติมอากาศ รุ่น COTTO Nano Compact  หรือ ถังบำบัดแบบรวมชนิดเติมอากาศ รุ่น COTTO Nano Septic Fixedfilm (CNSF) เป็นต้น


ถึงแม้ระบบบำบัดน้ำเสียจะถูกแบ่งออกเป็นชนิดแยกถังและชนิดรวมไว้ในถังเดียวกัน แต่จะเห็นได้ว่าถังบำบัดทุกชนิดล้วนมีกระบวนการทำงานในส่วนของถังเกรอะเหมือนกัน แต่จากแตกต่างกันที่ส่วนกรองซึ่งเจ้าของบ้านสามารถเลือกใช้ส่วนกรองได้ทั้ง 2 ประเภทคือ “ชนิดไม่เติมอากาศ” และ “ชนิดเติมอากาศ” โดยหลายท่านยังสงสัยอยู่ว่าจะเลือกส่วนกรองอย่างไรเพื่อให้เหมาะกับบ้านของเรา เราจะมาพิจารณาถึงข้อแตกต่างพร้อมๆกันนะคะ

ถังกรองเพื่อบำบัดน้ำเสียชนิดไม่เติมอากาศ ( Anaerobic Unit ) พัฒนามาจากระบบบ่อเกรอะ โดยทำให้เกิดการย่อยสลายเพิ่มขึ้นด้วยการเพิ่มจำนวนแบคทีเรีย โดยใช้สื่อชีวภาพ ( Bio-Media ) มาเป็นตัวกลางให้แบคทีเรียเกาะ ยิ่งมีพื้นที่ผิวมาก จำนวนแบคทีเรียก็จะยิ่งมากขึ้น ทำให้ระบบบำบัดน้ำเสียดีขึ้นเช่นกัน ส่วนกรองชนิดนี้เป็นที่นิยมสำหรับบ้านพักอาศัย เนื่องจากดูแลรักษาง่ายและประหยัดค่าไฟฟ้า แต่มีข้อเสียคือในช่วงแรกจุลินทรีย์ในส่วนกรองชนิดไม่เติมอากาศมีปริมาณน้อย จึงย่อยกากของเสียไม่ทัน ทำให้เกิดก๊าซมีกลิ่นเหม็น สามารถแก้ไขด้วยการเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์เติมลงไปในถัง และดูดกากของเสียออกอย่างสม่ำเสมอ

ถังกรองเพื่อบำบัดน้ำเสียชนิดเติมอากาศ ( Aerobic Unit ) โดยทั่วไปแบ่งออกเป็น 2 ระบบ ได้แก่

1. ระบบ Activated Sludge หรือระบบตะกอนเร่ง อาศัยการย่อยสลายของเสียโดยแบคทีเรียชนิดใช้อากาศ (Aerobic Bacteria) โดยเติมอากาศที่ Aeration Chamber และนำเอาตะกอนซึ่งมีแบคทีเรียที่ยังสามารถย่อยสลายของเสียได้ จากส่วนตกตะกอนกลับมาใช้ใหม่

2. ระบบ Contact Aeration Process หลักการของระบบนี้จะอาศัยแบคทีเรียชนิดใช้อากาศ ( Aerobic Bacteria) และเพิ่มจำนวนแบคทีเรียด้วยการมีสื่อชีวภาพให้แบคทีเรียเกาะ นอกจากนี้ยังมีการนำตะกอน (Sludge) จากส่วนตกตะกอนมาใช้ใหม่ เพื่อนำแบคทีเรียที่ยังสามารถย่อยสลายของเสียกลับมาใช้ใหม่อีกด้วย

ประสิทธิภาพของระบบเติมอากาศ (Aerobic Unit) นี้จะดีกว่าระบบไม่เติมอากาศ (Anaerobic Unit) ค่ะ เนื่องจากสามารถลดค่า BOD* ได้มากกว่า แต่อาจจะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมในส่วนของค่าไฟฟ้าสำหรับระบบเติมอากาศและค่าบำรุงรักษาในระยะยาว จึงเหมาะกับอาคารที่ต้องการน้ำทิ้งที่มีมาตรฐานสูง

นอกจากนี้ในการติดตั้งระบบบำบัดน้ำเสียควรติดตั้งท่ออากาศขนาด 1 นิ้วบริเวณด้านบนของถังบำบัดน้ำเสียด้วยเพื่อช่วยในการระบายความดันให้อยู่ในสภาวะสมดุลซึ่งหากเกิดความดันภายในถังมากไปจะส่งผลให้ชักโครกไม่ลงได้ค่ะ



*ค่า BOD (Biochemical Oxygen Demand, BOD) หมายถึง ปริมาณของออกซิเจนที่แบคทีเรียใช้ในการย่อยสลายสารอินทรีย์ ในเวลา 5 วัน ที่อุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียส มีหน่วยเป็น มิลลิกรัม/ลิตร ค่า BOD เป็นค่าที่มีความสำคัญอย่างมากในการออกแบบและควบคุมระบบบำบัดน้ำเสียทางชีวภาพ โดยใช้บ่งบอกถึงค่าภาระอินทรีย์ (Organic Loading) ใช้ในการหาประสิทธิภาพของระบบบำบัดน้ำเสีย และใช้สำหรับการตรวจสอบคุณภาพของน้ำตามแหล่งน้ำต่างๆ  ถ้า BOD ต่ำหมายถึงน้ำที่มีคุณภาพดีเพราะจุลินทรีย์ต้องการออกซิเจนน้อยในการย่อยอินทรีย์ แต่ถ้าค่า BOD สูงคือน้ำที่มีคุณภาพต่ำหรือน้ำเสียนั้นเอง
คอนกรีตผสมเสร็จ ปูนมิกซ์ ปูนผสมเสร็จ ปูนน้ำ สลั๊มปั๊ม คอนกรีตสำเร็จ ซีเมนต์ เทพื้น เทคาน ราคาถูก!!ผู้ผลิต-จำหน่าย-ขาย บริการเทคอนกรีตผสมเสร็จ คอนกรีตสำเร็จ ปูนผสมเสร็จ ปูนมิกซ์ ปูนน้ำ ซีเมนต์ เทพื้น เทคาน หล่อเสา ปูนกันซึม คอนกรีตสลั๊มปั๊ม เข็มเจาะ แพล้นปูน บางพูน ลำลูกกา ธัญบุรี ปทุมธานี มีนบุรี ถนนนิมิตใหม่ รามอินทรา สายไหม เอกชัย พระราม2 คลองหลวง รังสิต นวนคร บางเขน นนทบุรี บางซื่อ บางขุนเทียน บางมด ตลิ่งชัน สุขุมวิท พระราม9 ปทุมวัน ลาดกระบัง นวมินทร์ บางแค บางปู สมุทรปราการ บางนา ท่าพระ ราษฏร์บูรณะ กทม.ราคาถูก รถโม่เล็ก รถโม่ใหญ่

บริการเทคอนกรีตผสมเสร็จ ปูนตราช้าง งานคุณภาพผลิตตรงจากแพล้นคอนกรีต สนใจติดต่อสั่งซื้อได้ที่ 02-181-0288 หรือ 02-181-0188 ติดต่อมือถือ 089-797-3536
Back To Top