การตรวจงานก่อสร้างบ้านนั้น ขั้นตอนต่างๆก็ตามขั้นตอนการก่อสร้างเลย แต่การตรวจงานจะเน้นคนละด้าน แต่ไม่ว่าคุณจะเคยสร้างบ้านหรือไม่เคยสร้างมาก่อนก็ตาม การเรียนรู้นั้นไม่ยากเกินไป และก็เป็นเรื่องที่เราจะต้องรู้ด้วย เพราะบ้านของเราเอง ช่างเขาสร้างดี สร้างเก่ง รับผิดชอบดี เราก็โชคดีไป แต่ถ้าใครเจอช่างที่ไม่เก่ง แถมยังมักง่าย ชี้โกง หรือชุ่ย ด้วยแล้วละก้อ ซวยมั่กๆ เพราะโอกาสที่เราจะปลูกบ้านนั้นไม่บ่อย อาจจะครั้งเดียวในชีวิต ถ้าสร้างไม่ดีปัญหาการบำรุงรักษาก็จะตามมาเป็นเงาตามตัวเชียวละ
ถ้าใครซื้อบ้านจัดสรรก็อาจจะสบายหน่อย ถ้าเป็นบริษัทใหญ่ เขาจะมีคนดูแลตรวจสอบ เพราะส่วนใหญ่เขาก็ไม่ได้สร้างเอง เขาจ้างผู้รับเหมาย่อยอีกที แต่ถึงอย่างไร เราก็ควรเขาตรวจสอบดูแลอย่างสม่ำเสมอ ดูแบบ ดูหุ่นจำลองแล้วรู้บ้าง ไม่รู้บ้าง ไม่เป็นไร พยายามจินตนาการให้ได้ว่าของจริงจะเป็นอย่างไร แล้วถ้ามีข้อไม่เข้าใจ จะทักท้วง แก้ไข จะได้ปรึกษาเขาก่อนที่จะสร้าง เพราะถ้าสร้างไปแล้ว ไปทุบแก้ไข ปัญหาอื่นๆจะเกิดตามมาอีก เดี๋ยวจะทะเลาะกันไม่เลิก
การก่อสร้างและตรวจตามขั้นตอนก่อสร้างจะมีดังนี้
1. การวางผัง
การวางผัง คือการกำหนดวางตัวบ้าน ว่าจะอยู่ที่ตำแหน่งไหน ในที่ดินของเรา ส่วนใหญ่จะกำหนดในแบบแล้วแต่แรก เมื่อตีผังโดยใช้ไม้แบบรอบบริเวณที่จะก่อสร้างแล้วก็จะกำหนดจุดฐานราก และเสาเข็มเพื่อตอกเข็ม บางพื้นที่ดินแข็งๆก็ไม่จำเป็นต้องตอกเข็ม จะทำฐานรากเลย ปัญหาในการวางผัง อาจมีการคลาดเคลื่อน หรือมีอุปสรรคเช่นต้นไม้ใหญ่ สิ่งก่อสร้างเดิมใต้ดิน เป็นต้น
2. การตอกเข็ม
การตอกเข็มปัจจุบันมี 2 อย่างคือเข็มตอก แบบดั้งเดิม และเข็มเจาะ ในกรณีที่พื้นที่จำกัด สถานที่ก่อสร้างอยู่ชิดติดสิ่งก่อสร้างอื่นๆ จะตอกเข็มไม่สะดวก หรือเมื่อตอกลงไปแล้ว จะไปกระทบกระเทือนเขา ทำให้พังเสียหายทะเลาะกันวุ่นวาย หรือบางรายก็ถึงกับฟ้องศาลกันเลยก็มีบ่อย การตรวจดูคือ ตรวจดูเสาเข็มก่อนว่าสภาพดี มีมาตรฐานหรือไม่ ไม่บิดงอ แตกร้าว ไม่ใช่ตอกไปแล้วหักคาที่ การตอกก็มีหลักคือตอกให้ตรง ไม่เอียงซ้ายเอียงขวา ตอกลงไปแล้วแน่นดี ไม่ใช่ตอกปุ๊บหายลงไปในดินปั๊บ นั่นแสดงว่าดินมันอ่อนไป ไม่รับน้ำหนัก เพราะหน้าที่ของเสาเข็ม คือรับน้ำหนักทั้งหมดของตัวบ้าน บ้านจะทรุดไม่ทรุดก็อยู่ตรงนี้แหละ ตอกให้ได้ครบจำนวน หรือถ้าหักก็ต้องตอกเสริมให้ครบตามที่วิศวกรระบุ
3. การทำฐานราก
ต้องขุดดินออกจากก้นหลุมให้ใหญ่กว่าฐานรากที่จะทำ ถ้ามีน้ำก็ต้องสูบน้ำออกก่อน ระดับความลึกคือวางอยู่บนหัวเสาเข็มพอดี และเททรายและคอนกรีตหยาบ รองพื้นก่อนที่ตั้งแบบไม้ และวางเหล็ก เหล็กเสาตอม่อก็ต้องตั้งตรงได้ดิ่งกับพื้น
4. งานคอนกรีตทั่วไป
คือส่วนที่เป็นโครงสร้างทั้งหมดของอาคาร เช่น เสา คาน พื้น ที่เขียนย่อในแบบว่า ค.ส.ล. นั้นย่อมาจาก คอนกรีตเสริมเหล็ก เป็นส่วนประกอบหลักที่ให้ความแข็งแรงกับโครงสร้าง คือคอนกรีตและเหล็กเสริม คอนกรีตอย่างเดียวก็จะแข็งแต่ไม่เหนียว เหล็กอย่างเดียวเหนียวแต่งอได้ จึงต้องใช้มาผสมกัน เพิ่งดูข่าวน้ำท่วมตจว.ไปหยกๆ เห็นน้ำท่วมผ่านถนนขาด รถวิ่งมาถนนพังตกน้ำลงไปทั้งคัน ชาวบ้านมายืนชี้ให้ดูรอยหักของถนน ปรากฏว่าไม่มีเหล็กเสริม มันถึงหักตกน้ำไปได้ง่ายๆ โกงกันหน้าด้านๆเลยนิ
ส่วนคอนกรีตนั้น ถ้าสั่งแบบสำเร็จรูปมาเป็นคันรถเทเลยก็จะได้มาตรฐานดีมาก แต่ถ้าผสมเองต้องดูเขาหน่อย เพราะคอนกรีต ประกอบด้วย ปูนซีเมนต์ ทราย และหิน เป็นสัดส่วนกัน คือ 1:2:4 แล้วก็ต้องผสมน้ำพอประมาณ ไม่เหลวไป ข้นไป และน้ำที่ใช้ต้องเป็นน้ำสะอาดด้วย จะให้ช่างมักง่าย บางทีตักเอาน้ำคลองข้างบ้านมาผสม ขุ่นคลั่กเลย ใช้ไม่ได้ คอนกรีตถ้าผสมเหนียวไปก็เทไม่ค่อยลงเต็มแบบไม้ ต้องมีอุปกรณ์เขย่าคอนกรีตให้อัดตัวแน่น เต็ม พอถอดแบบออกมาแล้วสวยเนียน ไม่เว้าแหว่งเป็นรูโพลง
5. การตั้งไม้แบบ
การเทส่วนโครงสร้างทั้งหมด จะต้องตั้งไม้แบบก่อน เพื่อวางเหล็กเสริม อันนี้ต้องดูให้ดีเพราะช่างมักทำไม่เรียบร้อยเสมอ ตั้งเสาไม่ตรงไม่ได้ดิ่ง หรือบางทีตั้งคานเอียงไม่ได้ระดับ พอหล่อมาแล้ว ดีไม่ดี เขาไม่ค่อยยอมทุบยอมทำใหม่นะ เพราะทุบรื้อทีก็เสียของ (ที่จริงมันของของเรา)
6. งานผูกเหล็ก
เหล็กเสริมมันก็มีขนาดเส้นใหญ่เล็กต่างกันไปเรียกตามความเล็กใหญ่ว่า มิล ตามมาตราเมตริกที่ specในแบบ แต่ช่างจะชอบเรียกเป็นหุน แบบเก่า คือหน่วยเป็นนิ้ว 1 นิ้วมี 8 หุน เหล็กเล็กก็มักจะใช้ทำเหล็กปลอก ส่วนเหล็กใหญ่ก็เสริมเป็นเหล็กยืนเสริมเสาคานเสริม เหล็กเสริมก็ดูซักหน่อยว่าได้เหล็กเต็มตาขนาด (จะดูยากสักหน่อย) ไม่เป็นสนิม ดัดตรงดี เหล็กปลอก ซึ่งควรมีระยะห่างเท่าๆกันไม่ใช่ถี่บ้างห่างบ้าง แต่บางจุดที่จะเน้นความแข็งแรง วิศวกรก็จะเสริมพิเศษให้ถี่ขึ้นอีก เสร็จแล้วก็จะใช้ลวดผูกเหล็กผูกเหล็กยืนและเหล็กปลอกเข้าด้วยกันทุกๆจุดที่เหล็กทาบกัน จึงจะเรียบร้อย แข็งแรงพร้อมเทคอนกรีต ไม่แอ่นโค้งไปมา
7. การบ่มคอนกรีตและถอดแบบ
เมื่อเทคอนกรีตเสร็จแล้ว ต้องรอคอนกรีตแห้งก่อน เพราะคอนกรีตยิ่งแห้งยิ่งมีกำลังรับน้ำหนักได้ดี คงเคยเห็นข่าวตึกถล่มตอนก่อสร้างบ่อยๆ เพราะช่างมันรีบเกินไป คอนกรีตยังไม่แห้ง ไม่setตัว ก็ถอดแบบ ตั้งแบบชั้นบนๆขึ้นไปอีก เมื่อคอนกรีตยังรับน้ำหนักไม่ได้เต็มที่ ก็พังลงมาก่อนแน่นอน
การบ่มคือเอากระสอบป่านชุบน้ำคลุมไว้ หรือใช้แผ่นพลาสติกห่อคล้ายๆที่เราใช้ wrap ห่ออาหาร จะทำให้คอนกรีตค่อยๆแห้งและได้กำลังรับสูง แต่ช่างไม่ชอบ เพราะเสียเวลา งานช้าเปลืองค่าแรงลูกน้อง
8. งานไม้
งานไม้แบ่งเป็น 2 ประเภท คืองานโครงสร้างภายใน และส่วนประกอบภายนอก โครงสร้างภายในเช่นโครงเคร่า ฝ้าเพดาน โครงฝา ควรทาน้ำยากันปลวก มอดเสียก่อนที่จะกรุ ส่วนระบบที่วางท่อน้ำยากันปลวกตามโครงสร้างอาคารนั้น เท่าที่เห็นมันไม่ค่อยworkเท่าไหร่ แค่สร้างความมั่นใจเท่านั้น กันปลวกจริงๆไม่ค่อยได้ (นี่ไปขัดทางทำมาหากินของใครเข้ามั่งไม่รู้) เพราะการวางท่อนั้นไม่สามารถกำหนดตำแหน่งให้น้ำยามันฉีดไปได้ทั่วทุกส่วน แล้วปลวกนี่ก็ฉลาดคล้ายแมลงสาบนะครับ กำจัดยากจริงๆ ทางที่ดีคือต้องหมั่นตรวจตราบ้านเราอยู่เสมอ เหมือนเช็คสุขภาพผู้สูงอายุนั่นแหละ เวลาปลวกมันขึ้นมันจะมีทาง มีรอย การเสียเงินจ้างคนกำจัดปลวกคอยดูตามระยะเวลาก็จะดีกว่า (ตามความเห็นของผมนะ) แต่ก็ต้องเลือกบริษัทที่รับผิดชอบดีด้วย พวกที่วางท่อไว้ ก็เห็นต้องมาเรียกใช้บริการพวกนี้อยู่ดี
ส่วนประกอบอื่นภายนอก ได้แก่ไม้เชิงชาย ระแนงฝ้าเพดาน พวกนี้เป็นส่วนโชว์ ไม่หลบซ่อนตัวเหมือนพวกโครงต่างๆ จึงต้องมีการใสขัดผิวให้เรียบ ไม่เป็นเสี้ยน การให้ช่างสั่งโรงไม้ใสมาให้เราเลยก็สะดวกและได้มาตรฐานดี แต่จะได้ไม้มาไม่เต็มเพราะเครื่องใสออกไปแล้ว แต่ก็ดีกว่าให้ช่างมานั่งใสในที่ ซึ่งควรจะเป็นการขัดละเอียดก่อนลงสี ลงน้ำยามากกว่า ยิ่งเฉพาะบันใดด้วยแล้ว เราจะต้องสัมผัสใกล้ชิด นี่ต้องให้เนียนกว่าเพื่อนส่วนเคร่าฝ้าปัจจุบัน นิยมใช้ยิบซั่มกันมากกว่าไม้ เพราะราคาถูกกว่า แล้วค่อยไปว่าเรื่องยิบซั่มอีกทีหลัง
9. งานก่ออิฐ
ส่วนใหญ่คือการก่ออิฐผนังและแผงกำแพง ที่นิยมที่สุดคืออิฐมอญและคอนกรีตบล็อก การก่ออิฐผนังจะต้องมีเหล็กเสริมหนวดกุ้งเสริมยื่นออกมาจากเสาเตรียมไว้แล้ว เพื่อยึดผนังกับเสาให้แข็งแรง ก่อนก่ออิฐต้องเอาอิฐไปแช่น้ำให้อิ่มน้ำก่อน แล้วจึงนำมาใช้ ไม่งั้นอิฐที่แห้งจะดูดน้ำจากปูนก่อจนปูนก่อแห้งไป ไม่ยึดติดอิฐก่อ จะหลุดร่วงได้ก่อนฉาบปูนด้วยซ้ำ
การก่ออิฐต้องเริ่มจากมุมเสาก่อนและขึงแนวกำแพงทั้งทางตั้ง ทางนอนไว้เป็นระยะ เวลาก่อจะได้ไม่เลื้อยเป็นงู ถ้าผนังยาวหรือ สูงมากจะต้องมีเอ็นค.ส.ล.เสริมยึดให้แข็งแรงด้วย
งานก่ออิฐเดี๋ยวนี้ไม่ใช่กำแพงอิฐล้วนๆอย่างเดียว แต่ยังฝังงานระบบสารพัดอย่างลงไปด้วย เช่นระบบน้ำ ระบบไฟ ต้องให้ช่างประสานงานและเว้นงานให้สัมพันธ์กัน ไม่อย่างนั้น เวลาจะมาวางระบบต้องรื้อต้องเจาะกันอยู่เรื่อย กำแพงที่ก่อไว้แล้วก็อาจเสียหาย หรือไม่แข็งแรง
การเสริมเอ็นค.ส.ล.ตามแนวผนัง หรือล้อมรอบวงกบประตูหน้าต่าง
10.งานฉาบปูน
ก่อนการฉาบปูนต้องทำการจับเซี้ยม ตามระดับขอบเสา มุม ผนังเสียก่อนเพื่อความเรียบร้อย และได้ดิ่ง ได้ฉาก ก่อนฉาบก็ต้องรดน้ำผนังก่ออิฐให้ชุ่มเสียก่อนเช่นเดียวกัน จะช่วยไม่ให้ผนังแตกร้าวเพราะอิฐดูดน้ำไปจากปูนฉาบ ส่วนผนังภายนอกที่โดนแดดมากๆ ก็ต้องให้น้ำกันหน่อย รดน้ำซะ 3 วัน จะได้ไม่แตกลายงาภายหลัง เพราะปูนมันแห้งเร็วกว่าปกติ แล้วอย่าลืมวางระบบต่างๆเสียให้เสร็จ จะได้ไม่ต้องมาสะกัดอีกภายหลัง เพราะไม่ว่าการฉาบปูนซ่อมใหม่จะทำได้เรียบร้อยปานใด ก็ยังมีร่องรอยอยู่ดี เพราะปูนทำกันคนละที ไม่สนิทเป็นเนื้อเดียวกัน การทาสีอาจกลบไม่หมด ต้องติด wallpaper แทน เสียเงินมากขึ้นไปอีก
11. การติดตั้งวงกบ ประตู หน้าต่าง
การติดตั้งวงกบประตูหน้าต่างถ้าไม่ยึดติดกับเสา จะต้องทำเอ็นค.ส.ล.ทุกด้านเพื่อความแข็งแรง และต้องให้ได้ดิ่งเสมอ เวลาใช้งานนานๆ จะได้ไม่แตกร้าวที่มุมประตู ถ้าวงกบใช้ไม้ดีๆสวยๆก็ควรทาน้ำมันเคลือบผิวไว้ก่อน จะได้ไม่เปื้อนน้ำปูน เวลามาลงชเลคภายหลังก็จะสวย ไม่มีรอยปูนเปื้อนให้หงุดหงิด เพราะมันล้างไม่ออกการติดตั้งบานประตูหน้าต่าง ต้องใสแต่งขอบบานให้เรียบร้อยให้หลวมๆนิดหน่อย เผื่อความหนาสำหรับวัสดุทาผิวด้วย ไม่งั้นตอนใส่บานมันเปิดง่ายดี แต่พอทาสีไปแล้วทำไมมันฝืดจังบานประตูถ้าเป็นไม้อัดจะต้องดูด้วยว่าใช้ภายในหรือภายนอก เพราะคุณสมบัติและราคามันผิดกันถ้าเอาของภายในไปใช้ภายนอก ไม่นานก็บวม อย่าเชื่อช่างหรือขี้เหนียวเกินการใช้บานพับติดตั้งก็ต้องดูด้วยว่า ติดตั้งกับบานอะไร คือต้องใช้ขนาดให้เหมาะสมกับน้ำหนักของบานนั้นๆ บานใหญ่ หนัก ก็ต้องใช้บานพับใหญ่ตามกัน ถ้าบานพับเล็กไป ไม่นานบานจะตกเอียงปิดไม่เข้า เดือดร้อนภายหลังจะหาช่างมาเปลี่ยนก็ยาก เพราะงานเล็กๆ ช่างไม่ชอบทำ ถึงแม้เราคิดว่าเราจ่ายกะตังค์จ้าง แต่อย่าลืมว่าช่างเขาก็หางานที่ทำง่าย เสร็จเร็ว รายได้ดีกว่า เสมอ
12. งานหลังคา
งานหลังคา แบ่งเป็น 2 ส่วน คือส่วนโครงหลังคา และส่วนวัสดุมุงหลังคา
งานโครงหลังคา แต่ก่อนก็ใช้กันแต่โครงไม้ เดี๋ยวนี้หันมาใช้โครงเหล็กกันหมดแล้ว ส่วนโครงสร้างหลัก บางทีก็เป็นค.ส.ล. บางทีก็เป็นเหล็กหมด ตั้งแต่คานอะเสขึ้นไป เพราะเดี๋ยวนี้ สร้างง่าย ราคาถูกกว่าอย่างอื่น ถ้าได้ช่างดีๆก็จะเรียบร้อยมาก ช่างเหล็กเดี๋ยวนี้อาจแยกงานเป็นช่างคนละชุดกับช่างอื่น เพราะความชำนาญงานไม่เหมือนกัน แต่เอาช่างเหล็กมาเป็นช่างไม้ไม่ได้ วิธีการมันยากกว่าเยอะ ค่าตัวก็แพงกว่ากัน
โครงหลังคา ถ้ายังใช้ไม้อยู่ก็อย่าลืมทาน้ำยากันปลวก ทาหลายเที่ยวยิ่งดี ปลวกมันทำงาน 24 ชั่วโมงนะ ส่วนโครงสร้างก็ดูระยะความห่าง แป จันทัน ให้สม่ำเสมอ สำคัญที่ระนาบของหลังคาคือต้องตรงเรียบเสมอกันหมด ห้ามแอ่น ห้ามแบะ เพราะจะทำให้เวลามุงกระเบื้องไม่สนิท น้ำจะเข้าได้
งานมุงกระเบื้อง ขึ้นอยู่กับชนิดกระเบื้อง ว่าเป็นแบบไหน แผ่นใหญ่หรือเล็ก หนาหรือบาง ถ้าหลังคาชันๆก็เลือกใช้กระเบื้องแผ่นเล็กๆได้ หลักที่ต้องจำคือการมุงต้องดูทิศทางลมด้วย คือต้องมุงย้อนทางลม เพื่อให้การซ้อนทับของกระเบื้องไม่รับทางลม เพราะลมที่แรงจะดันน้ำให้ย้อนเข้าทางร่องแผ่นกระเบื้องที่มุงไม่แนบสนิทกันได้ แนวกระเบื้องทางตั้ง ต้องให้ได้แนวตรงไม่โค้งบิด หรือเลื้อย เพราะทำให้กระเบื้องไม่แนบสนิทกัน ส่วนจะใช้ฉนวนกันความร้อนด้วยหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับงบประมาณ จะใช้หรือไม่ก็ได้ เพราะตัวฉนวนนั้นมีประสิทธิภาพกันความร้อนได้ส่วนหนึ่งเท่านั้น สู้การทำการระบายความร้อนในช่องหลังคาให้สะดวกไม่ได้
13. งานฝ้าเพดาน
ยังมีการใช้โครงไม้อยู่ เพราะแข็งแรงทนทานกว่าโครงเหล็กชุบสังกะสีกับยิบซั่ม และออกแบบได้หลากหลายกว่ากัน งานไม้จะเรียบร้อยกว่า ถ้าใช้ยิบซั่มต้องกำชับดูแลให้ดีกว่าการยึดลวดแขวนโครงเหล็กแข็งแรงแน่นหนา ยึดกับโครงสร้างใหญ่ๆที่รับน้ำหนักได้ดี เพราะตอนแขวนโครงมันก็เสมอดี แต่พอวางแผ่นยิบซั่มลงไปแล้ว มันแอ่นไปแอ่นมาเป็นลอนๆ เป็นคลื่นเชียว โดยเฉพาะแบบ T-Bar ถ้าเป็นแบบฉาบเรียบก็จะเรียบร้อย แข็งแรงกว่า แต่ก็ดูให้เขายิงตะปูเกลียวถี่ๆหน่อย เพราะในระยะยาวถ้าแผ่นยิบซั่มเริ่มเสื่อมสภาพการยึดเกาะจะน้อยลง อาจจะหลุดหล่นลงมาทั้งแผ่นได้ ตะปูเกลียวถี่ๆจะรับน้ำหนักได้ดีกว่า รอยต่อก็ควรทำให้เรียบร้อย ถ้ามีบัวเพดานปิดได้ก็ยิ่งดี
14. งานติดตั้งประปา สุขภัณฑ์
ท่อประปา ท่อน้ำทิ้ง ไม่ว่าจะเป็นเหล็กชุบสังกะสี หรือท่อ PVC เน้นดูที่การติดตั้งข้อต่อต่างๆให้แข็งแรง น้ำยาทาให้ทั่วกันรั่วซึม ท่อแต่ละแนว แต่ละเลี้ยว ต้องมีอุปกรณ์ยึดเกาะให้แน่นหนาแข็งแรง ลองเขย่าดูไม่สั่นเป็นใช้ได้ ที่สำคัญเมื่อติดตั้งระบบท่อทั้งหมดแล้ว ก่อนติดตั้งงานอื่นๆต่อ ต้องทดลองแรงดันน้ำด้วยว่าไม่มีส่วนใดรั่วซึม จึงทำการฉาบปูน ปิดทับ ฝังท่อได้ ตำแหน่งของสุขภัณฑ์ต่างๆ ตรวจสอบให้ดีก่อนว่าท่อที่วางไว้ มีระยะตรงกับรุ่นที่ซื้อมาหรือไม่ (ควรจัดซื้อสุขภัณฑ์ไว้ก่อนเลย) เพราะต่างยี่ห้อ ต่างรุ่น ระยะและการติดตั้งจะไม่เหมือนกัน แล้วจึงปูกระเบื้องให้เรียบร้อยก่อนติดตั้งสุขภัณฑ์ แล้วก็ทดลองระบบน้ำอีกครั้งว่ามีรั่วซึมหรือไม่ เป็นอันเสร็จเรียบร้อย
15. การติดตั้งไฟฟ้า
ไฟฟ้าเป็นสิ่งอำนวยความสะดวกที่สุดในปัจจุบัน แต่อันตรายจากไฟฟ้าก็ยังมากเหมือนเดิม การก่อสร้างที่ทำไม่ดี เป็นสาเหตุให้ไฟไหม้มาเยอะแล้วหลังจากการก่อสร้างเสร็จใหม่ๆ การติดตั้งและใช้วัสดุต้องเลือกใช้ที่มีมาตรฐานดี อย่าเลือกซื้อของที่ราคาถูกอย่างเดียว การติดตั้งเดินสายถ้าร้อยท่อได้ควรจะทำ แพงกว่าหน่อยแต่ปลอดภัยต่อชีวิต และทรัพย์สิน โดยเฉพาะส่วนที่ลึกลับ ซอกซอย ที่พวกหนูแมลงจะเข้าถึง หรือยึดเป็นบ้านของมันบ้าง ต้องร้อยท่อให้หมด อย่าเดินลอย ให้มันแทะเล่นเป็นอันขาด ไฟจะช็อตเอา ไฟไหม้ที่ไหนทุกครั้งเขาก็จะโทษว่าไฟฟ้าลัดวงจร ซึ่งก็เป็นเรื่องจริง สายไฟที่ต่อเชื่อมพันกันต้องพันเทปให้เรียบร้อยแน่นหนา เมื่อเสร็จแล้วก็ทดสอบการใช้งานให้เรียบร้อยทุกจุด เครื่องมือพวกตัดไฟ กันไฟดูดทั้งหลายศึกษาและเลือกใช้ได้ก็ดี กันไว้อีกชั้นหนึ่ง ที่สำคัญช่างที่จัดระบบไฟ ดูว่าเขาเก่งหรือเปล่า หลอกถามไปเรื่อยๆก็ได้ ถามโน่น ถามนี่ ถ้าเก่งเขาก็ตอบได้หมด ถ้าไม่เก่งจะเป็นพวกข้ามขั้น ครูพักลักจำไปเล่นตลกได้ แต่มาเป็นช่างไฟไม่ได้ พลาดพลั้งขึ้นมาถึงชีวิตเชียว โดยเฉพาะเรื่องสายดินที่ต้องมีติดตั้งกับอุปกรณ์สำคัญที่เขามีสายดินสีเขียวๆโผล่มาด้วย ต้องติดตั้งให้ครบ ที่ดูดคนตายมาเยอะแล้วก็เครื่องทำน้ำร้อนในห้องน้ำนี่แหละ อันตรายที่สุด
16. งานระบบน้ำเสีย ระบบระบายน้ำ
บ่อเกรอะ บ่อซึม จะใช้ระบบโบราณคือใช้บ่อซีเมนต์สำเร็จรูปหรือก่ออิฐก็ได้ ถ้ามีพื้นที่ หรือระดับน้ำใต้ดินไม่สูง (สังเกตุดูตอนขุดดินทำฐานรากนะครับ ว่าขุดถึงระดับไหมน้ำจะซึมขึ้นมา) ก็จะใช้ได้ดี ไม่เปลือง แต่ถ้าเป็นพื้นที่ ที่น้ำใต้ดินสูง หรือที่แคบๆในกรุงเทพฯ พื้นที่ไม่อำนวยก็ต้องใช้แบบถังบำบัดสมัยใหม่ เสียตังค์แพงหน่อย ต่อจากบ่อดักบ่อพักแล้ว ก็จะเข้าท่อระบาย ให้วางบ่อพักไม่เกินระยะ 4 เมตรต่อ 1 บ่อและทำระดับเอียงลาดมากๆหน่อย จะได้ไม่อุดตันบ่อย และสามารถเปิดตัก ทำความสะอาดสิ่งอุดตันได้ การวางท่อน้ำทิ้งและบ่อพัก ให้ช่างพยายามบดอัดดินที่รองรับแนวท่อให้แน่น จะได้ไม่ทรุดง่าย พังเร็ว
17. งานปูวัสดุผิวพื้นและผนัง
วัสดุตกแต่งพื้นผิวมีหลายชนิด ติดตั้งกับส่วนพื้น และผนัง ได้หลายชนิดเช่นกัน
ส่วนพื้น ก่อนปูกระเบื้องหรือไม้ปาร์เก้ ต้องปรับระดับพื้นผิวให้เรียบสม่ำเสมอ ไม่เป็นแอ่ง เป็นลอน แล้วทำความสะอาดพื้นผิว ไม่ให้มีฝุ่นผง เศษวัสดุ การปูกระเบื้องก็ต้องตั้งปุ่มระดับก่อนและตั้งแนวกระเบื้องทั้ง 2 ทาง ทางตรงและขวาง เลือกปูจากด้านที่เห็นชัดเจนก่อน เมื่อไปจบอีกด้านหนึ่งกระเบื้องอาจจะเหลือเศษ ต้องตัดออก ซึ่งจะไม่เรียบร้อย ก็หลบไว้ด้านที่ไม่สำคัญ อย่าลืมแช่กระเบื้องให้อมน้ำก่อน เหมือนก่ออิฐนั่นแหละ แนวกระเบื้องถ้ากระเบื้องดีก็สามารถปูได้เกือบชิด แต่ถ้าอยากเว้นร่องก็ไม่ควรให้ห่างจนเกินไป ทำความสะอาดยาก เมื่อยาแนวเรียบร้อยแล้วปล่อยให้แห้งสนิทก่อน อย่าให้ใครไปเดินเหยียบ จะทรุดหรือหลุดได้
การปูไม้ปาร์เก้ ก็ลักษณะเดียวกัน แต่เมื่อปูเสร็จแล้วก็ต้องอุด โป้ว รูร่องต่างๆที่มีอยู่ให้เรียบร้อย แล้วทิ้งไว้ให้กาวแห้งสนิทเสียก่อน อย่างต่ำสัก 1 อาทิตย์ ถ้ามากกว่านั้นได้ก็ดี การขัดให้เรียบต้องใช้ฝีมือช่างพอสมควร กำชับช่างหน่อย เพราะต้องสม่ำเสมอทั่วกัน การขัดส่วนพื้นที่ใหญ่ๆจะใช้เครื่องตัวโต ส่วนซอกซอยที่เครื่องใหญ่เข้าไม่ถึง ก็จะใช้เครื่องเล็กๆมาเก็บงานอีกทีหนึ่ง ที่ให้กำชับเป็นพิเศษเพราะไม้ปาร์เก้นั้น ถ้าขัดไม่ดี ไม่สม่ำเสมอ ลึกเป็นรอย เป็นแอ่งแล้วแก้ยาก เอาผิวไม้ปะกลับไปไม่ได้ ก็ต้องขัดลึกลงไปเรื่อยๆ ยิ่งลึกก็ยิ่งไม่เสมอ แต่ที่เห็นตามบ้านจัดสรร ระดับดี หลายแห่งขัดน้อยไป ผิวยังไม่ทันเรียบเสมอเลย ทาเคลือบผิวซะแล้ว ก่อนทาเคลือบจะตรวจงานยากสักหน่อย เพราะมองยาก แต่ตอนที่ทาเคลือบแล้ว เวลาเรามองเอียงๆจะเห็นชัดเจน
การปูพรมหรือกระเบื้องยาง ก็หลักการเดียวกัน ต้องปรับระดับให้เรียบก่อน และทำความสะอาดพื้นผิว ก่อนปู
18. งานสี
ก่อนทา ตรวจสอบดูสีที่จะใช้ก่อน ว่าถูก spec หรือไม่ ที่สำคัญใช้สีตามคุณสมบัติ คือสีที่ระบุสำหรับทาภายใน ภายนอก อย่าใช้สลับกัน สีทาภายใน ห้ามมาทาภายนอกเด็ดขาด การเลือกสี ถ้าเลือกยี่ห้อไหนก็ต้องเอาแคทตาล็อคของยี่ห้อนั้น เพราะโทนสีแต่ละโรงงานไม่เหมือนกัน ถ้าไม่มีก็ควรมาเทียบกันดูก่อนว่าใกล้เคียงกันไหม รับได้ไหม แล้วค่อยซื้อ ถ้าเลือกใช้สีตามเบอร์ของโรงงานได้ก็จะดี อย่าให้ช่างผสมสีเอง เดี๋ยวนี้ไม่ค่อยเก่ง ผสมไม่เหมือน บางทีผสมไม่พอ ทาหมดแล้วผสมใหม่ก็ไม่เหมือนกัน ก่อนทาก็ต้องอุดโป้ว ทำความสะอาดผนัง ให้เรียบร้อยก่อน และผนังต้องแห้งสนิท ชื้นเปียกไม่ได้ ฝนตกก็ไม่ควรทา เมื่อทาแต่ละชั้นต้องรอให้ชั้นที่ทาแล้วแห้งดีก่อน จึงทาทับ อย่างน้อย 2 เที่ยว ไม่ให้เห็นรอยแปรง
19. การเก็บกวาดทำความสะอาดสถานที่
เป็นอันว่าหมดขั้นตอน การก่อสร้างแต่เพียงนี้ เมื่อผู้รับเหมาเก็บข้าวของเครื่องมือเครื่องใช้ไปหมดแล้ว ต้องให้เขาเก็บเศษวัสดุเหลือใช้ต่างๆ และขยะไปทิ้งให้ด้วย และให้ทำความสะอาดอาคารทุกส่วนให้เรียบร้อยจึงตรวจรับงานได้ จ่ายตังค์ซะ วัสดุเหลือใช้บางอย่างเราเก็บไว้สำรองซ่อมแซมภายหลังก็ดี เช่นกระเบื้อง สี เพราะถ้ามีปัญหาต้องซ่อมจะได้ไม่ต้องไปตระเวนหาของ อย่างกระเบื้องนี่จะผลิตรุ่นใหม่ออกมาเรื่อยๆ รุ่นเก่าเลิกผลิต จะหาของยาก
20. การจ่ายเงิน
ข้อสุดท้ายนี่แถมนะครับ ไม่ได้เกี่ยวกับการก่อสร้าง แต่มันเกี่ยวกับการบริหารผู้รับเหมา การจ่ายเงินควรแบ่งจ่ายเป็นงวดๆ จ่ายให้เขาตามเนื้องานที่ทำแล้วเสร็จ เมื่อเรารู้งวดงานละเอียดขนาดนี้แล้ว ก็ควรประมาณราคาได้ว่าแต่ละงวด มันเป็นเงินเท่าไหร่ ก็เจรจาจ่ายไปตามผลงาน ช่างอาจมีเบิกล่วงหน้าบ้างแล้วแต่ตกลง แต่ต้องเหลือเงินไว้งวดสุดท้ายก่อนงานจบเสมอ ถ้าเป็นผู้รับเหมาเขาจะต้องมีเงินหมุนเวียนบ้าง แต่ถ้าเราจ้างช่างโดยตรงจะเสี่ยงหน่อย เพราะเบิกเงินแล้วหายหน้านี่ จะเจอบ่อย ทำงานแล้วไม่รับผิดชอบจนเสร็จงาน พอเจองานแก้ งานติดขัด จะออดอ้อนสารพัด ถ้าใจอ่อนให้ไปมาก เพื่อนขนของหายไปเลยก็มี บางทีก็ไม่ขนของ ทิ้งไว้ให้ดูต่างหน้าซะงั้น
ถ้าใครซื้อบ้านจัดสรรก็อาจจะสบายหน่อย ถ้าเป็นบริษัทใหญ่ เขาจะมีคนดูแลตรวจสอบ เพราะส่วนใหญ่เขาก็ไม่ได้สร้างเอง เขาจ้างผู้รับเหมาย่อยอีกที แต่ถึงอย่างไร เราก็ควรเขาตรวจสอบดูแลอย่างสม่ำเสมอ ดูแบบ ดูหุ่นจำลองแล้วรู้บ้าง ไม่รู้บ้าง ไม่เป็นไร พยายามจินตนาการให้ได้ว่าของจริงจะเป็นอย่างไร แล้วถ้ามีข้อไม่เข้าใจ จะทักท้วง แก้ไข จะได้ปรึกษาเขาก่อนที่จะสร้าง เพราะถ้าสร้างไปแล้ว ไปทุบแก้ไข ปัญหาอื่นๆจะเกิดตามมาอีก เดี๋ยวจะทะเลาะกันไม่เลิก
การก่อสร้างและตรวจตามขั้นตอนก่อสร้างจะมีดังนี้
1. การวางผัง
การวางผัง คือการกำหนดวางตัวบ้าน ว่าจะอยู่ที่ตำแหน่งไหน ในที่ดินของเรา ส่วนใหญ่จะกำหนดในแบบแล้วแต่แรก เมื่อตีผังโดยใช้ไม้แบบรอบบริเวณที่จะก่อสร้างแล้วก็จะกำหนดจุดฐานราก และเสาเข็มเพื่อตอกเข็ม บางพื้นที่ดินแข็งๆก็ไม่จำเป็นต้องตอกเข็ม จะทำฐานรากเลย ปัญหาในการวางผัง อาจมีการคลาดเคลื่อน หรือมีอุปสรรคเช่นต้นไม้ใหญ่ สิ่งก่อสร้างเดิมใต้ดิน เป็นต้น
2. การตอกเข็ม
การตอกเข็มปัจจุบันมี 2 อย่างคือเข็มตอก แบบดั้งเดิม และเข็มเจาะ ในกรณีที่พื้นที่จำกัด สถานที่ก่อสร้างอยู่ชิดติดสิ่งก่อสร้างอื่นๆ จะตอกเข็มไม่สะดวก หรือเมื่อตอกลงไปแล้ว จะไปกระทบกระเทือนเขา ทำให้พังเสียหายทะเลาะกันวุ่นวาย หรือบางรายก็ถึงกับฟ้องศาลกันเลยก็มีบ่อย การตรวจดูคือ ตรวจดูเสาเข็มก่อนว่าสภาพดี มีมาตรฐานหรือไม่ ไม่บิดงอ แตกร้าว ไม่ใช่ตอกไปแล้วหักคาที่ การตอกก็มีหลักคือตอกให้ตรง ไม่เอียงซ้ายเอียงขวา ตอกลงไปแล้วแน่นดี ไม่ใช่ตอกปุ๊บหายลงไปในดินปั๊บ นั่นแสดงว่าดินมันอ่อนไป ไม่รับน้ำหนัก เพราะหน้าที่ของเสาเข็ม คือรับน้ำหนักทั้งหมดของตัวบ้าน บ้านจะทรุดไม่ทรุดก็อยู่ตรงนี้แหละ ตอกให้ได้ครบจำนวน หรือถ้าหักก็ต้องตอกเสริมให้ครบตามที่วิศวกรระบุ
3. การทำฐานราก
ต้องขุดดินออกจากก้นหลุมให้ใหญ่กว่าฐานรากที่จะทำ ถ้ามีน้ำก็ต้องสูบน้ำออกก่อน ระดับความลึกคือวางอยู่บนหัวเสาเข็มพอดี และเททรายและคอนกรีตหยาบ รองพื้นก่อนที่ตั้งแบบไม้ และวางเหล็ก เหล็กเสาตอม่อก็ต้องตั้งตรงได้ดิ่งกับพื้น
4. งานคอนกรีตทั่วไป
คือส่วนที่เป็นโครงสร้างทั้งหมดของอาคาร เช่น เสา คาน พื้น ที่เขียนย่อในแบบว่า ค.ส.ล. นั้นย่อมาจาก คอนกรีตเสริมเหล็ก เป็นส่วนประกอบหลักที่ให้ความแข็งแรงกับโครงสร้าง คือคอนกรีตและเหล็กเสริม คอนกรีตอย่างเดียวก็จะแข็งแต่ไม่เหนียว เหล็กอย่างเดียวเหนียวแต่งอได้ จึงต้องใช้มาผสมกัน เพิ่งดูข่าวน้ำท่วมตจว.ไปหยกๆ เห็นน้ำท่วมผ่านถนนขาด รถวิ่งมาถนนพังตกน้ำลงไปทั้งคัน ชาวบ้านมายืนชี้ให้ดูรอยหักของถนน ปรากฏว่าไม่มีเหล็กเสริม มันถึงหักตกน้ำไปได้ง่ายๆ โกงกันหน้าด้านๆเลยนิ
ส่วนคอนกรีตนั้น ถ้าสั่งแบบสำเร็จรูปมาเป็นคันรถเทเลยก็จะได้มาตรฐานดีมาก แต่ถ้าผสมเองต้องดูเขาหน่อย เพราะคอนกรีต ประกอบด้วย ปูนซีเมนต์ ทราย และหิน เป็นสัดส่วนกัน คือ 1:2:4 แล้วก็ต้องผสมน้ำพอประมาณ ไม่เหลวไป ข้นไป และน้ำที่ใช้ต้องเป็นน้ำสะอาดด้วย จะให้ช่างมักง่าย บางทีตักเอาน้ำคลองข้างบ้านมาผสม ขุ่นคลั่กเลย ใช้ไม่ได้ คอนกรีตถ้าผสมเหนียวไปก็เทไม่ค่อยลงเต็มแบบไม้ ต้องมีอุปกรณ์เขย่าคอนกรีตให้อัดตัวแน่น เต็ม พอถอดแบบออกมาแล้วสวยเนียน ไม่เว้าแหว่งเป็นรูโพลง
5. การตั้งไม้แบบ
การเทส่วนโครงสร้างทั้งหมด จะต้องตั้งไม้แบบก่อน เพื่อวางเหล็กเสริม อันนี้ต้องดูให้ดีเพราะช่างมักทำไม่เรียบร้อยเสมอ ตั้งเสาไม่ตรงไม่ได้ดิ่ง หรือบางทีตั้งคานเอียงไม่ได้ระดับ พอหล่อมาแล้ว ดีไม่ดี เขาไม่ค่อยยอมทุบยอมทำใหม่นะ เพราะทุบรื้อทีก็เสียของ (ที่จริงมันของของเรา)
6. งานผูกเหล็ก
เหล็กเสริมมันก็มีขนาดเส้นใหญ่เล็กต่างกันไปเรียกตามความเล็กใหญ่ว่า มิล ตามมาตราเมตริกที่ specในแบบ แต่ช่างจะชอบเรียกเป็นหุน แบบเก่า คือหน่วยเป็นนิ้ว 1 นิ้วมี 8 หุน เหล็กเล็กก็มักจะใช้ทำเหล็กปลอก ส่วนเหล็กใหญ่ก็เสริมเป็นเหล็กยืนเสริมเสาคานเสริม เหล็กเสริมก็ดูซักหน่อยว่าได้เหล็กเต็มตาขนาด (จะดูยากสักหน่อย) ไม่เป็นสนิม ดัดตรงดี เหล็กปลอก ซึ่งควรมีระยะห่างเท่าๆกันไม่ใช่ถี่บ้างห่างบ้าง แต่บางจุดที่จะเน้นความแข็งแรง วิศวกรก็จะเสริมพิเศษให้ถี่ขึ้นอีก เสร็จแล้วก็จะใช้ลวดผูกเหล็กผูกเหล็กยืนและเหล็กปลอกเข้าด้วยกันทุกๆจุดที่เหล็กทาบกัน จึงจะเรียบร้อย แข็งแรงพร้อมเทคอนกรีต ไม่แอ่นโค้งไปมา
7. การบ่มคอนกรีตและถอดแบบ
เมื่อเทคอนกรีตเสร็จแล้ว ต้องรอคอนกรีตแห้งก่อน เพราะคอนกรีตยิ่งแห้งยิ่งมีกำลังรับน้ำหนักได้ดี คงเคยเห็นข่าวตึกถล่มตอนก่อสร้างบ่อยๆ เพราะช่างมันรีบเกินไป คอนกรีตยังไม่แห้ง ไม่setตัว ก็ถอดแบบ ตั้งแบบชั้นบนๆขึ้นไปอีก เมื่อคอนกรีตยังรับน้ำหนักไม่ได้เต็มที่ ก็พังลงมาก่อนแน่นอน
การบ่มคือเอากระสอบป่านชุบน้ำคลุมไว้ หรือใช้แผ่นพลาสติกห่อคล้ายๆที่เราใช้ wrap ห่ออาหาร จะทำให้คอนกรีตค่อยๆแห้งและได้กำลังรับสูง แต่ช่างไม่ชอบ เพราะเสียเวลา งานช้าเปลืองค่าแรงลูกน้อง
8. งานไม้
งานไม้แบ่งเป็น 2 ประเภท คืองานโครงสร้างภายใน และส่วนประกอบภายนอก โครงสร้างภายในเช่นโครงเคร่า ฝ้าเพดาน โครงฝา ควรทาน้ำยากันปลวก มอดเสียก่อนที่จะกรุ ส่วนระบบที่วางท่อน้ำยากันปลวกตามโครงสร้างอาคารนั้น เท่าที่เห็นมันไม่ค่อยworkเท่าไหร่ แค่สร้างความมั่นใจเท่านั้น กันปลวกจริงๆไม่ค่อยได้ (นี่ไปขัดทางทำมาหากินของใครเข้ามั่งไม่รู้) เพราะการวางท่อนั้นไม่สามารถกำหนดตำแหน่งให้น้ำยามันฉีดไปได้ทั่วทุกส่วน แล้วปลวกนี่ก็ฉลาดคล้ายแมลงสาบนะครับ กำจัดยากจริงๆ ทางที่ดีคือต้องหมั่นตรวจตราบ้านเราอยู่เสมอ เหมือนเช็คสุขภาพผู้สูงอายุนั่นแหละ เวลาปลวกมันขึ้นมันจะมีทาง มีรอย การเสียเงินจ้างคนกำจัดปลวกคอยดูตามระยะเวลาก็จะดีกว่า (ตามความเห็นของผมนะ) แต่ก็ต้องเลือกบริษัทที่รับผิดชอบดีด้วย พวกที่วางท่อไว้ ก็เห็นต้องมาเรียกใช้บริการพวกนี้อยู่ดี
ส่วนประกอบอื่นภายนอก ได้แก่ไม้เชิงชาย ระแนงฝ้าเพดาน พวกนี้เป็นส่วนโชว์ ไม่หลบซ่อนตัวเหมือนพวกโครงต่างๆ จึงต้องมีการใสขัดผิวให้เรียบ ไม่เป็นเสี้ยน การให้ช่างสั่งโรงไม้ใสมาให้เราเลยก็สะดวกและได้มาตรฐานดี แต่จะได้ไม้มาไม่เต็มเพราะเครื่องใสออกไปแล้ว แต่ก็ดีกว่าให้ช่างมานั่งใสในที่ ซึ่งควรจะเป็นการขัดละเอียดก่อนลงสี ลงน้ำยามากกว่า ยิ่งเฉพาะบันใดด้วยแล้ว เราจะต้องสัมผัสใกล้ชิด นี่ต้องให้เนียนกว่าเพื่อนส่วนเคร่าฝ้าปัจจุบัน นิยมใช้ยิบซั่มกันมากกว่าไม้ เพราะราคาถูกกว่า แล้วค่อยไปว่าเรื่องยิบซั่มอีกทีหลัง
9. งานก่ออิฐ
ส่วนใหญ่คือการก่ออิฐผนังและแผงกำแพง ที่นิยมที่สุดคืออิฐมอญและคอนกรีตบล็อก การก่ออิฐผนังจะต้องมีเหล็กเสริมหนวดกุ้งเสริมยื่นออกมาจากเสาเตรียมไว้แล้ว เพื่อยึดผนังกับเสาให้แข็งแรง ก่อนก่ออิฐต้องเอาอิฐไปแช่น้ำให้อิ่มน้ำก่อน แล้วจึงนำมาใช้ ไม่งั้นอิฐที่แห้งจะดูดน้ำจากปูนก่อจนปูนก่อแห้งไป ไม่ยึดติดอิฐก่อ จะหลุดร่วงได้ก่อนฉาบปูนด้วยซ้ำ
การก่ออิฐต้องเริ่มจากมุมเสาก่อนและขึงแนวกำแพงทั้งทางตั้ง ทางนอนไว้เป็นระยะ เวลาก่อจะได้ไม่เลื้อยเป็นงู ถ้าผนังยาวหรือ สูงมากจะต้องมีเอ็นค.ส.ล.เสริมยึดให้แข็งแรงด้วย
งานก่ออิฐเดี๋ยวนี้ไม่ใช่กำแพงอิฐล้วนๆอย่างเดียว แต่ยังฝังงานระบบสารพัดอย่างลงไปด้วย เช่นระบบน้ำ ระบบไฟ ต้องให้ช่างประสานงานและเว้นงานให้สัมพันธ์กัน ไม่อย่างนั้น เวลาจะมาวางระบบต้องรื้อต้องเจาะกันอยู่เรื่อย กำแพงที่ก่อไว้แล้วก็อาจเสียหาย หรือไม่แข็งแรง
การเสริมเอ็นค.ส.ล.ตามแนวผนัง หรือล้อมรอบวงกบประตูหน้าต่าง
10.งานฉาบปูน
ก่อนการฉาบปูนต้องทำการจับเซี้ยม ตามระดับขอบเสา มุม ผนังเสียก่อนเพื่อความเรียบร้อย และได้ดิ่ง ได้ฉาก ก่อนฉาบก็ต้องรดน้ำผนังก่ออิฐให้ชุ่มเสียก่อนเช่นเดียวกัน จะช่วยไม่ให้ผนังแตกร้าวเพราะอิฐดูดน้ำไปจากปูนฉาบ ส่วนผนังภายนอกที่โดนแดดมากๆ ก็ต้องให้น้ำกันหน่อย รดน้ำซะ 3 วัน จะได้ไม่แตกลายงาภายหลัง เพราะปูนมันแห้งเร็วกว่าปกติ แล้วอย่าลืมวางระบบต่างๆเสียให้เสร็จ จะได้ไม่ต้องมาสะกัดอีกภายหลัง เพราะไม่ว่าการฉาบปูนซ่อมใหม่จะทำได้เรียบร้อยปานใด ก็ยังมีร่องรอยอยู่ดี เพราะปูนทำกันคนละที ไม่สนิทเป็นเนื้อเดียวกัน การทาสีอาจกลบไม่หมด ต้องติด wallpaper แทน เสียเงินมากขึ้นไปอีก
การฉาบปูนผนังห้องน้ำต้องทำผิวให้หยาบเพื่อปูกระเบื้องเคลือบ
การฉาบปูนภายนอก ควรตั้งนั่งร้านให้แข็งแรง การทำงานจะง่าย เร็ว และปลอดภัย และได้งานที่ดี ถ้านั่งร้านไม่แข็งแรง เกิดอุบัติเหตุ ก็จะมีผลกระทบกับงาน ที่จริงผู้รับเหมาจะต้องรับผิดชอบเรื่องมาตรฐานความปลอดภัยในการทำงาน แต่บางทีก็มั่ว หรือหาเหตุที่มากระทบเรา เข้าจนได้11. การติดตั้งวงกบ ประตู หน้าต่าง
การติดตั้งวงกบประตูหน้าต่างถ้าไม่ยึดติดกับเสา จะต้องทำเอ็นค.ส.ล.ทุกด้านเพื่อความแข็งแรง และต้องให้ได้ดิ่งเสมอ เวลาใช้งานนานๆ จะได้ไม่แตกร้าวที่มุมประตู ถ้าวงกบใช้ไม้ดีๆสวยๆก็ควรทาน้ำมันเคลือบผิวไว้ก่อน จะได้ไม่เปื้อนน้ำปูน เวลามาลงชเลคภายหลังก็จะสวย ไม่มีรอยปูนเปื้อนให้หงุดหงิด เพราะมันล้างไม่ออกการติดตั้งบานประตูหน้าต่าง ต้องใสแต่งขอบบานให้เรียบร้อยให้หลวมๆนิดหน่อย เผื่อความหนาสำหรับวัสดุทาผิวด้วย ไม่งั้นตอนใส่บานมันเปิดง่ายดี แต่พอทาสีไปแล้วทำไมมันฝืดจังบานประตูถ้าเป็นไม้อัดจะต้องดูด้วยว่าใช้ภายในหรือภายนอก เพราะคุณสมบัติและราคามันผิดกันถ้าเอาของภายในไปใช้ภายนอก ไม่นานก็บวม อย่าเชื่อช่างหรือขี้เหนียวเกินการใช้บานพับติดตั้งก็ต้องดูด้วยว่า ติดตั้งกับบานอะไร คือต้องใช้ขนาดให้เหมาะสมกับน้ำหนักของบานนั้นๆ บานใหญ่ หนัก ก็ต้องใช้บานพับใหญ่ตามกัน ถ้าบานพับเล็กไป ไม่นานบานจะตกเอียงปิดไม่เข้า เดือดร้อนภายหลังจะหาช่างมาเปลี่ยนก็ยาก เพราะงานเล็กๆ ช่างไม่ชอบทำ ถึงแม้เราคิดว่าเราจ่ายกะตังค์จ้าง แต่อย่าลืมว่าช่างเขาก็หางานที่ทำง่าย เสร็จเร็ว รายได้ดีกว่า เสมอ
12. งานหลังคา
งานหลังคา แบ่งเป็น 2 ส่วน คือส่วนโครงหลังคา และส่วนวัสดุมุงหลังคา
งานโครงหลังคา แต่ก่อนก็ใช้กันแต่โครงไม้ เดี๋ยวนี้หันมาใช้โครงเหล็กกันหมดแล้ว ส่วนโครงสร้างหลัก บางทีก็เป็นค.ส.ล. บางทีก็เป็นเหล็กหมด ตั้งแต่คานอะเสขึ้นไป เพราะเดี๋ยวนี้ สร้างง่าย ราคาถูกกว่าอย่างอื่น ถ้าได้ช่างดีๆก็จะเรียบร้อยมาก ช่างเหล็กเดี๋ยวนี้อาจแยกงานเป็นช่างคนละชุดกับช่างอื่น เพราะความชำนาญงานไม่เหมือนกัน แต่เอาช่างเหล็กมาเป็นช่างไม้ไม่ได้ วิธีการมันยากกว่าเยอะ ค่าตัวก็แพงกว่ากัน
โครงหลังคา ถ้ายังใช้ไม้อยู่ก็อย่าลืมทาน้ำยากันปลวก ทาหลายเที่ยวยิ่งดี ปลวกมันทำงาน 24 ชั่วโมงนะ ส่วนโครงสร้างก็ดูระยะความห่าง แป จันทัน ให้สม่ำเสมอ สำคัญที่ระนาบของหลังคาคือต้องตรงเรียบเสมอกันหมด ห้ามแอ่น ห้ามแบะ เพราะจะทำให้เวลามุงกระเบื้องไม่สนิท น้ำจะเข้าได้
งานมุงกระเบื้อง ขึ้นอยู่กับชนิดกระเบื้อง ว่าเป็นแบบไหน แผ่นใหญ่หรือเล็ก หนาหรือบาง ถ้าหลังคาชันๆก็เลือกใช้กระเบื้องแผ่นเล็กๆได้ หลักที่ต้องจำคือการมุงต้องดูทิศทางลมด้วย คือต้องมุงย้อนทางลม เพื่อให้การซ้อนทับของกระเบื้องไม่รับทางลม เพราะลมที่แรงจะดันน้ำให้ย้อนเข้าทางร่องแผ่นกระเบื้องที่มุงไม่แนบสนิทกันได้ แนวกระเบื้องทางตั้ง ต้องให้ได้แนวตรงไม่โค้งบิด หรือเลื้อย เพราะทำให้กระเบื้องไม่แนบสนิทกัน ส่วนจะใช้ฉนวนกันความร้อนด้วยหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับงบประมาณ จะใช้หรือไม่ก็ได้ เพราะตัวฉนวนนั้นมีประสิทธิภาพกันความร้อนได้ส่วนหนึ่งเท่านั้น สู้การทำการระบายความร้อนในช่องหลังคาให้สะดวกไม่ได้
13. งานฝ้าเพดาน
ยังมีการใช้โครงไม้อยู่ เพราะแข็งแรงทนทานกว่าโครงเหล็กชุบสังกะสีกับยิบซั่ม และออกแบบได้หลากหลายกว่ากัน งานไม้จะเรียบร้อยกว่า ถ้าใช้ยิบซั่มต้องกำชับดูแลให้ดีกว่าการยึดลวดแขวนโครงเหล็กแข็งแรงแน่นหนา ยึดกับโครงสร้างใหญ่ๆที่รับน้ำหนักได้ดี เพราะตอนแขวนโครงมันก็เสมอดี แต่พอวางแผ่นยิบซั่มลงไปแล้ว มันแอ่นไปแอ่นมาเป็นลอนๆ เป็นคลื่นเชียว โดยเฉพาะแบบ T-Bar ถ้าเป็นแบบฉาบเรียบก็จะเรียบร้อย แข็งแรงกว่า แต่ก็ดูให้เขายิงตะปูเกลียวถี่ๆหน่อย เพราะในระยะยาวถ้าแผ่นยิบซั่มเริ่มเสื่อมสภาพการยึดเกาะจะน้อยลง อาจจะหลุดหล่นลงมาทั้งแผ่นได้ ตะปูเกลียวถี่ๆจะรับน้ำหนักได้ดีกว่า รอยต่อก็ควรทำให้เรียบร้อย ถ้ามีบัวเพดานปิดได้ก็ยิ่งดี
14. งานติดตั้งประปา สุขภัณฑ์
ท่อประปา ท่อน้ำทิ้ง ไม่ว่าจะเป็นเหล็กชุบสังกะสี หรือท่อ PVC เน้นดูที่การติดตั้งข้อต่อต่างๆให้แข็งแรง น้ำยาทาให้ทั่วกันรั่วซึม ท่อแต่ละแนว แต่ละเลี้ยว ต้องมีอุปกรณ์ยึดเกาะให้แน่นหนาแข็งแรง ลองเขย่าดูไม่สั่นเป็นใช้ได้ ที่สำคัญเมื่อติดตั้งระบบท่อทั้งหมดแล้ว ก่อนติดตั้งงานอื่นๆต่อ ต้องทดลองแรงดันน้ำด้วยว่าไม่มีส่วนใดรั่วซึม จึงทำการฉาบปูน ปิดทับ ฝังท่อได้ ตำแหน่งของสุขภัณฑ์ต่างๆ ตรวจสอบให้ดีก่อนว่าท่อที่วางไว้ มีระยะตรงกับรุ่นที่ซื้อมาหรือไม่ (ควรจัดซื้อสุขภัณฑ์ไว้ก่อนเลย) เพราะต่างยี่ห้อ ต่างรุ่น ระยะและการติดตั้งจะไม่เหมือนกัน แล้วจึงปูกระเบื้องให้เรียบร้อยก่อนติดตั้งสุขภัณฑ์ แล้วก็ทดลองระบบน้ำอีกครั้งว่ามีรั่วซึมหรือไม่ เป็นอันเสร็จเรียบร้อย
15. การติดตั้งไฟฟ้า
ไฟฟ้าเป็นสิ่งอำนวยความสะดวกที่สุดในปัจจุบัน แต่อันตรายจากไฟฟ้าก็ยังมากเหมือนเดิม การก่อสร้างที่ทำไม่ดี เป็นสาเหตุให้ไฟไหม้มาเยอะแล้วหลังจากการก่อสร้างเสร็จใหม่ๆ การติดตั้งและใช้วัสดุต้องเลือกใช้ที่มีมาตรฐานดี อย่าเลือกซื้อของที่ราคาถูกอย่างเดียว การติดตั้งเดินสายถ้าร้อยท่อได้ควรจะทำ แพงกว่าหน่อยแต่ปลอดภัยต่อชีวิต และทรัพย์สิน โดยเฉพาะส่วนที่ลึกลับ ซอกซอย ที่พวกหนูแมลงจะเข้าถึง หรือยึดเป็นบ้านของมันบ้าง ต้องร้อยท่อให้หมด อย่าเดินลอย ให้มันแทะเล่นเป็นอันขาด ไฟจะช็อตเอา ไฟไหม้ที่ไหนทุกครั้งเขาก็จะโทษว่าไฟฟ้าลัดวงจร ซึ่งก็เป็นเรื่องจริง สายไฟที่ต่อเชื่อมพันกันต้องพันเทปให้เรียบร้อยแน่นหนา เมื่อเสร็จแล้วก็ทดสอบการใช้งานให้เรียบร้อยทุกจุด เครื่องมือพวกตัดไฟ กันไฟดูดทั้งหลายศึกษาและเลือกใช้ได้ก็ดี กันไว้อีกชั้นหนึ่ง ที่สำคัญช่างที่จัดระบบไฟ ดูว่าเขาเก่งหรือเปล่า หลอกถามไปเรื่อยๆก็ได้ ถามโน่น ถามนี่ ถ้าเก่งเขาก็ตอบได้หมด ถ้าไม่เก่งจะเป็นพวกข้ามขั้น ครูพักลักจำไปเล่นตลกได้ แต่มาเป็นช่างไฟไม่ได้ พลาดพลั้งขึ้นมาถึงชีวิตเชียว โดยเฉพาะเรื่องสายดินที่ต้องมีติดตั้งกับอุปกรณ์สำคัญที่เขามีสายดินสีเขียวๆโผล่มาด้วย ต้องติดตั้งให้ครบ ที่ดูดคนตายมาเยอะแล้วก็เครื่องทำน้ำร้อนในห้องน้ำนี่แหละ อันตรายที่สุด
16. งานระบบน้ำเสีย ระบบระบายน้ำ
บ่อเกรอะ บ่อซึม จะใช้ระบบโบราณคือใช้บ่อซีเมนต์สำเร็จรูปหรือก่ออิฐก็ได้ ถ้ามีพื้นที่ หรือระดับน้ำใต้ดินไม่สูง (สังเกตุดูตอนขุดดินทำฐานรากนะครับ ว่าขุดถึงระดับไหมน้ำจะซึมขึ้นมา) ก็จะใช้ได้ดี ไม่เปลือง แต่ถ้าเป็นพื้นที่ ที่น้ำใต้ดินสูง หรือที่แคบๆในกรุงเทพฯ พื้นที่ไม่อำนวยก็ต้องใช้แบบถังบำบัดสมัยใหม่ เสียตังค์แพงหน่อย ต่อจากบ่อดักบ่อพักแล้ว ก็จะเข้าท่อระบาย ให้วางบ่อพักไม่เกินระยะ 4 เมตรต่อ 1 บ่อและทำระดับเอียงลาดมากๆหน่อย จะได้ไม่อุดตันบ่อย และสามารถเปิดตัก ทำความสะอาดสิ่งอุดตันได้ การวางท่อน้ำทิ้งและบ่อพัก ให้ช่างพยายามบดอัดดินที่รองรับแนวท่อให้แน่น จะได้ไม่ทรุดง่าย พังเร็ว
17. งานปูวัสดุผิวพื้นและผนัง
วัสดุตกแต่งพื้นผิวมีหลายชนิด ติดตั้งกับส่วนพื้น และผนัง ได้หลายชนิดเช่นกัน
ส่วนพื้น ก่อนปูกระเบื้องหรือไม้ปาร์เก้ ต้องปรับระดับพื้นผิวให้เรียบสม่ำเสมอ ไม่เป็นแอ่ง เป็นลอน แล้วทำความสะอาดพื้นผิว ไม่ให้มีฝุ่นผง เศษวัสดุ การปูกระเบื้องก็ต้องตั้งปุ่มระดับก่อนและตั้งแนวกระเบื้องทั้ง 2 ทาง ทางตรงและขวาง เลือกปูจากด้านที่เห็นชัดเจนก่อน เมื่อไปจบอีกด้านหนึ่งกระเบื้องอาจจะเหลือเศษ ต้องตัดออก ซึ่งจะไม่เรียบร้อย ก็หลบไว้ด้านที่ไม่สำคัญ อย่าลืมแช่กระเบื้องให้อมน้ำก่อน เหมือนก่ออิฐนั่นแหละ แนวกระเบื้องถ้ากระเบื้องดีก็สามารถปูได้เกือบชิด แต่ถ้าอยากเว้นร่องก็ไม่ควรให้ห่างจนเกินไป ทำความสะอาดยาก เมื่อยาแนวเรียบร้อยแล้วปล่อยให้แห้งสนิทก่อน อย่าให้ใครไปเดินเหยียบ จะทรุดหรือหลุดได้
การปูไม้ปาร์เก้ ก็ลักษณะเดียวกัน แต่เมื่อปูเสร็จแล้วก็ต้องอุด โป้ว รูร่องต่างๆที่มีอยู่ให้เรียบร้อย แล้วทิ้งไว้ให้กาวแห้งสนิทเสียก่อน อย่างต่ำสัก 1 อาทิตย์ ถ้ามากกว่านั้นได้ก็ดี การขัดให้เรียบต้องใช้ฝีมือช่างพอสมควร กำชับช่างหน่อย เพราะต้องสม่ำเสมอทั่วกัน การขัดส่วนพื้นที่ใหญ่ๆจะใช้เครื่องตัวโต ส่วนซอกซอยที่เครื่องใหญ่เข้าไม่ถึง ก็จะใช้เครื่องเล็กๆมาเก็บงานอีกทีหนึ่ง ที่ให้กำชับเป็นพิเศษเพราะไม้ปาร์เก้นั้น ถ้าขัดไม่ดี ไม่สม่ำเสมอ ลึกเป็นรอย เป็นแอ่งแล้วแก้ยาก เอาผิวไม้ปะกลับไปไม่ได้ ก็ต้องขัดลึกลงไปเรื่อยๆ ยิ่งลึกก็ยิ่งไม่เสมอ แต่ที่เห็นตามบ้านจัดสรร ระดับดี หลายแห่งขัดน้อยไป ผิวยังไม่ทันเรียบเสมอเลย ทาเคลือบผิวซะแล้ว ก่อนทาเคลือบจะตรวจงานยากสักหน่อย เพราะมองยาก แต่ตอนที่ทาเคลือบแล้ว เวลาเรามองเอียงๆจะเห็นชัดเจน
การปูพรมหรือกระเบื้องยาง ก็หลักการเดียวกัน ต้องปรับระดับให้เรียบก่อน และทำความสะอาดพื้นผิว ก่อนปู
18. งานสี
ก่อนทา ตรวจสอบดูสีที่จะใช้ก่อน ว่าถูก spec หรือไม่ ที่สำคัญใช้สีตามคุณสมบัติ คือสีที่ระบุสำหรับทาภายใน ภายนอก อย่าใช้สลับกัน สีทาภายใน ห้ามมาทาภายนอกเด็ดขาด การเลือกสี ถ้าเลือกยี่ห้อไหนก็ต้องเอาแคทตาล็อคของยี่ห้อนั้น เพราะโทนสีแต่ละโรงงานไม่เหมือนกัน ถ้าไม่มีก็ควรมาเทียบกันดูก่อนว่าใกล้เคียงกันไหม รับได้ไหม แล้วค่อยซื้อ ถ้าเลือกใช้สีตามเบอร์ของโรงงานได้ก็จะดี อย่าให้ช่างผสมสีเอง เดี๋ยวนี้ไม่ค่อยเก่ง ผสมไม่เหมือน บางทีผสมไม่พอ ทาหมดแล้วผสมใหม่ก็ไม่เหมือนกัน ก่อนทาก็ต้องอุดโป้ว ทำความสะอาดผนัง ให้เรียบร้อยก่อน และผนังต้องแห้งสนิท ชื้นเปียกไม่ได้ ฝนตกก็ไม่ควรทา เมื่อทาแต่ละชั้นต้องรอให้ชั้นที่ทาแล้วแห้งดีก่อน จึงทาทับ อย่างน้อย 2 เที่ยว ไม่ให้เห็นรอยแปรง
19. การเก็บกวาดทำความสะอาดสถานที่
เป็นอันว่าหมดขั้นตอน การก่อสร้างแต่เพียงนี้ เมื่อผู้รับเหมาเก็บข้าวของเครื่องมือเครื่องใช้ไปหมดแล้ว ต้องให้เขาเก็บเศษวัสดุเหลือใช้ต่างๆ และขยะไปทิ้งให้ด้วย และให้ทำความสะอาดอาคารทุกส่วนให้เรียบร้อยจึงตรวจรับงานได้ จ่ายตังค์ซะ วัสดุเหลือใช้บางอย่างเราเก็บไว้สำรองซ่อมแซมภายหลังก็ดี เช่นกระเบื้อง สี เพราะถ้ามีปัญหาต้องซ่อมจะได้ไม่ต้องไปตระเวนหาของ อย่างกระเบื้องนี่จะผลิตรุ่นใหม่ออกมาเรื่อยๆ รุ่นเก่าเลิกผลิต จะหาของยาก
20. การจ่ายเงิน
ข้อสุดท้ายนี่แถมนะครับ ไม่ได้เกี่ยวกับการก่อสร้าง แต่มันเกี่ยวกับการบริหารผู้รับเหมา การจ่ายเงินควรแบ่งจ่ายเป็นงวดๆ จ่ายให้เขาตามเนื้องานที่ทำแล้วเสร็จ เมื่อเรารู้งวดงานละเอียดขนาดนี้แล้ว ก็ควรประมาณราคาได้ว่าแต่ละงวด มันเป็นเงินเท่าไหร่ ก็เจรจาจ่ายไปตามผลงาน ช่างอาจมีเบิกล่วงหน้าบ้างแล้วแต่ตกลง แต่ต้องเหลือเงินไว้งวดสุดท้ายก่อนงานจบเสมอ ถ้าเป็นผู้รับเหมาเขาจะต้องมีเงินหมุนเวียนบ้าง แต่ถ้าเราจ้างช่างโดยตรงจะเสี่ยงหน่อย เพราะเบิกเงินแล้วหายหน้านี่ จะเจอบ่อย ทำงานแล้วไม่รับผิดชอบจนเสร็จงาน พอเจองานแก้ งานติดขัด จะออดอ้อนสารพัด ถ้าใจอ่อนให้ไปมาก เพื่อนขนของหายไปเลยก็มี บางทีก็ไม่ขนของ ทิ้งไว้ให้ดูต่างหน้าซะงั้น