เป็นปกติทั่วไปของโลกนะครับ มีดีก็มีเสีย ครับ บ้านที่สร้างด้วยระบบพรีคาสท์หรือชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูปก็เช่นเดียวกันครับ ด้วยที่ระบบพรีคาสท์เป็นระบบที่มีการออกแบบชิ้นส่วน ผลิต และควบคุมคุณภาพที่ดี การใช้วัสดุในขบวนการผลิตที่มีคุณภาพสม่ำเสมอ การนำมาติดตั้งหรือประกอบเป็นโครงสร้างบ้านก็มีการควบคุมมาตรฐานที่ดีภายใต้เงื่อนไข ข้อกำหนดหรือคำแนะนำของผู้ออกแบบระบบพรีคาสท์เพื่อให้ได้โครงสร้างที่มีความแข็งแรงตามที่ออกแบบไว้
อย่างไรก็ตามในเรื่องของการเลือกใช้วัสดุในการทำชิ้นส่วนพรีคาสท์นั้น ก็ทำมาจากคอนกรีตเสริมเหล็กให้มีความแข็งแรงตามการรับกำลังของโครงสร้าง คอนกรีตสำเร็จรูป แน่นอนครับเรื่องความแข็งแรงของชิ้นส่วนคงไม่ค่อยมีปัญหาอะไรมากนักการรับน้ำหนัก เนื่องจากคอนกรีตเสริมเหล็กนั้นมีการรับน้ำหนักได้ดีมาก อีกทั้งคุณสมบัติของคอนกรีตเองมีความทึบน้ำสูง ความทึบน้ำก็หมายถึงน้ำหรือความชื้นไม่สามารถไหลซึมผ่านได้ง่าย (เราเห็นได้จากการที่เขื่อนหรือถังเก็บน้ำทั่วไป ทำด้วยคอนกรีต สามารถเก็บกักน้ำได้)
คุณสมบัติอีกประการหนึ่งของคอนกรีตคือสามารถต้านทานไฟหรือมีความทนไฟได้ไม่น้อยกว่าสองชั่วโมง และไม่ติดไฟด้วย ซึ่งในการออกแบบได้กำหนดให้ผนังคอนกรีตที่มีความหนาไม่น้อยกว่า 10 เซนติเมตร เป็นผนังกันไฟ สังเกตจากบันไดหนีไฟตามอาคารต่างๆ จะทำด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก จากคุณสมบัติที่มีความทึบสูง (มีความแน่นตัวมาก) ทำให้คอนกรีตมีเก็บเสียงได้ดีอีกด้วย เมื่อเปรียบเทียบกับผนังก่ออิฐฉาบปูนโดยทั่วไปแล้วระบบพรีคาสท์มีความทึบน้ำมากกว่าหลายเท่าและเก็บความชื้นไม่มากนักทำให้ไม่ก่อให้เกิดเชื้อราซึ่งเป็นสาเหตุของสีหลุดร่อนตามมา แน่นอนครับความแน่นตัวหรือความหนาแน่นที่มากกว่าเมื่อเทียบกับการก่ออิฐฉาบปูนผนังอาคารพรีคาสท์จึงมีการนำความร้อนได้มากกว่าทำให้อากาศในห้องที่ทำด้วยผนังพรีคาสท์จะมีอุณหภูมิสูงกว่าเมื่อมีแดดส่องผนังเป็นข้อเสียประการหนึ่ง
ต่อมาเมื่อนำชิ้นส่วนคอนกรีตมาต่อเชื่อมเข้ากันตามแบบที่กำหนด ตรงนี้แหละครับเป็นส่วนสำคัญของระบบพรีคาสท์ โดยทั่วไปในการออกแบบโครงสร้างระบบพรีคาสท์จะต้องคำนึงถึงคือ จุดต่อ (Joint) การออกแบบรอยต่อ (Connection Joint) ให้มีความแข็งแรงให้สามารถถ่ายแรงต่างๆ เช่น แรงดึง แรงเฉือน แรงอัด ได้ ต่อมารอยต่อดังกล่าวต้องมีความสวยงามสามารถป้องกันน้ำหรือความชื้น (จากน้ำฝน) เนื่องจากบ้านเราตั้งอยู่ในสาภาวะร้อน ชื้น มีสภาพที่ร้อน และมีฝนตก หากรอยต่อดังกล่าวไม่ได้คำนึงถึงก็จะทำให้เกิดการรั่ว ซึมของน้ำ หรือความชื้นเกิดขึ้น ส่งผลกับผนัง พื้น ฝ้า หรืออื่นๆ ในบ้าน หรืออาคาร ได้ ดังนั้นรอยต่อจึงเป็นจุดอ่อนของระบบพรีคาสท์อีกจุดหนึ่ง ที่จะต้องมีการพิจารณาและหมั่นตรวจสอบอยู่เสมอ ทำไมต้องมีการตรวจสอบอยู่เสมอ ? เนื่องจากรอยต่อพรีคาสท์หากออกแบบให้ใช้วัสดุอุดรอยต่อประเภทซิลิโคน (เหมือนขอบหน้าต่าง ประตู ที่ทำจากอลูมิเนียม) ก็มักจะมีการเสื่อมสภาพเนื่องจากอายุการใช้งานและความทนทางกับ UV จากแสงแดด และต้องมีการเปลี่ยนใหม่ (อายุการใช้งาน 5-10 ปี)
ขึ้นอยู่กับคุณภาพและประเภทซิลิโคนที่ใช้ ส่วนต่อมาหากใช้การประสานรอยต่อด้วยมอร์ต้า (ปูนทรายผสมน้ำ) หรือ วัสดุประเภทนอนชิ้งเกรา (Non-shrink grout) หากใช้กรณีปูนทรายอุดรอยต่อจะมีปัญหาเรื่องการแตกร้าวตามรอยต่อไม่ส่งผลกับความแข็งแรงของโครงสร้างนะครับเป็นเพียงสาเหตุจากการหดตัว (shrinkage) ของปูนทรายหรือมอต้าร์กับชิ้นส่วนพรีคาสท์ที่เป็น คอนกรีตสำเร็จรูป เนื่องจากคอนกรีตมีการหดตัวน้อยกว่าปูนทรายหรือมอต้าร์มากครับ ส่วนกรณีที่ใช้นอนชิ้งเกรานั้นก็มีพบปัญหาน้อยกว่าการใช้ปูนทรายทั่วไป และเป็นที่นิยมใช้มากเนื่องจากนอนชิ้งเกรานั้นเป็นวัสดุที่มีส่วนผสมของวัสดุที่มีไม่มีการหดตัวอีกทั้งบางยี่ห้อก็มีการขยายเมื่อเทในรอยต่อทำให้ช่องว่างน้อยลงโอกาสที่จะมีการร้าวหรือการซึมผ่านของน้ำน้อยมาก ส่วนความแข็งแรงหรือกำลังของนอนชิ้งเกรานั้นก็มีกำลังไม่น้อยกว่าคอนกรีต
เอาละครับประเด็นสุดท้ายของระบบพรีคาสท์ที่เป็นข้อเสียที่ถูกถามมากที่สุดสำหรับ บรรดานักวางแผนทั้งหลายคือ จะทุบ รื้อ ต่อเติม เพิ่มขนาด ได้หรือไม่? ครับส่วนนี้ต้องมาพิจารณากันก่อนนะครับ เรื่องแรกที่จะเจาะ ทุบรื้อ ต้องพิจารณาถึงความแข็งแรงของโครงสร้างเป็นอันดับแรก เนื่องจากการออกแบบโครงสร้างของอาคารหรือบ้านนั้นมีความแตกต่างกัน เช่น โครงสร้างระบบเสาคาน ระบบผนังรับน้ำหนัก เป็นต้น ระบบผนังรับน้ำหนักนั้นการทุบรื้อ เจาะช่อง สกัด อะไรต่างๆเหล่านี้ มีผลต่อความแข็งแรงและการถ่ายแรงของโครงสร้างโดยตรง โดยทั่วไปเจ้าของโครงการหรือผู้ออกแบบจะแจ้งให้ผู้อยู่อาศัยหรือเจ้าของบ้านหรืออาคารรับทราบเงื่อนไขต่างๆ เหล่านี้ทราบและต้องปฏิบัติอย่างเคร่งครัดด้วย นั่นคือข้อเสียของระบบพรีคาสท์สำหรับนักวางแผนทุบ เจาะ รื้อ ครับ ส่วนโครงสร้างระบบเสาคานก็ เป็นที่รู้อยู่แล้วละครับว่าอย่าทุบโครงสร้างหลักครับส่วนผนังก็มักเป็นผนังก่ออิฐโดยทั่วไปอยู่แล้วครับ ข้อด้อยจุดนี้ก็ลดลงไปนิดหนึ่งครับ
สรุปเรื่องความร้อนที่มากกว่าผนังก่ออิฐ การต่อเติม ทุบ รื้อ ที่มีขอบเขตหรือข้อห้าม และรอยต่อที่มีโอกาสการซึมของน้ำหรือความชื้น ครับ เมือพิจารณาเปรียบเทียบกับ คุณภาพชิ้นงาน คุณภาพวัสดุ การไม่เกิดรอยแตกร้าวลายงาของผนังก่ออิฐ การใช้เวลาในการก่อสร้าง เป็นต้น ระบบพรีคาสท์ก็อาจจะดีมาก หรือด้อยกว่า นั้น ต้องพิจารณาให้ถี่ถ้วนว่าจุดยอมรับมากน้อยอย่างไร แต่ที่แน่ๆ ตอนนี้ ระบบพรีคาสท์มาแรง
ขอบคุณที่มา https://goo.gl/xdBhcc
อย่างไรก็ตามในเรื่องของการเลือกใช้วัสดุในการทำชิ้นส่วนพรีคาสท์นั้น ก็ทำมาจากคอนกรีตเสริมเหล็กให้มีความแข็งแรงตามการรับกำลังของโครงสร้าง คอนกรีตสำเร็จรูป แน่นอนครับเรื่องความแข็งแรงของชิ้นส่วนคงไม่ค่อยมีปัญหาอะไรมากนักการรับน้ำหนัก เนื่องจากคอนกรีตเสริมเหล็กนั้นมีการรับน้ำหนักได้ดีมาก อีกทั้งคุณสมบัติของคอนกรีตเองมีความทึบน้ำสูง ความทึบน้ำก็หมายถึงน้ำหรือความชื้นไม่สามารถไหลซึมผ่านได้ง่าย (เราเห็นได้จากการที่เขื่อนหรือถังเก็บน้ำทั่วไป ทำด้วยคอนกรีต สามารถเก็บกักน้ำได้)
คุณสมบัติอีกประการหนึ่งของคอนกรีตคือสามารถต้านทานไฟหรือมีความทนไฟได้ไม่น้อยกว่าสองชั่วโมง และไม่ติดไฟด้วย ซึ่งในการออกแบบได้กำหนดให้ผนังคอนกรีตที่มีความหนาไม่น้อยกว่า 10 เซนติเมตร เป็นผนังกันไฟ สังเกตจากบันไดหนีไฟตามอาคารต่างๆ จะทำด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก จากคุณสมบัติที่มีความทึบสูง (มีความแน่นตัวมาก) ทำให้คอนกรีตมีเก็บเสียงได้ดีอีกด้วย เมื่อเปรียบเทียบกับผนังก่ออิฐฉาบปูนโดยทั่วไปแล้วระบบพรีคาสท์มีความทึบน้ำมากกว่าหลายเท่าและเก็บความชื้นไม่มากนักทำให้ไม่ก่อให้เกิดเชื้อราซึ่งเป็นสาเหตุของสีหลุดร่อนตามมา แน่นอนครับความแน่นตัวหรือความหนาแน่นที่มากกว่าเมื่อเทียบกับการก่ออิฐฉาบปูนผนังอาคารพรีคาสท์จึงมีการนำความร้อนได้มากกว่าทำให้อากาศในห้องที่ทำด้วยผนังพรีคาสท์จะมีอุณหภูมิสูงกว่าเมื่อมีแดดส่องผนังเป็นข้อเสียประการหนึ่ง
ต่อมาเมื่อนำชิ้นส่วนคอนกรีตมาต่อเชื่อมเข้ากันตามแบบที่กำหนด ตรงนี้แหละครับเป็นส่วนสำคัญของระบบพรีคาสท์ โดยทั่วไปในการออกแบบโครงสร้างระบบพรีคาสท์จะต้องคำนึงถึงคือ จุดต่อ (Joint) การออกแบบรอยต่อ (Connection Joint) ให้มีความแข็งแรงให้สามารถถ่ายแรงต่างๆ เช่น แรงดึง แรงเฉือน แรงอัด ได้ ต่อมารอยต่อดังกล่าวต้องมีความสวยงามสามารถป้องกันน้ำหรือความชื้น (จากน้ำฝน) เนื่องจากบ้านเราตั้งอยู่ในสาภาวะร้อน ชื้น มีสภาพที่ร้อน และมีฝนตก หากรอยต่อดังกล่าวไม่ได้คำนึงถึงก็จะทำให้เกิดการรั่ว ซึมของน้ำ หรือความชื้นเกิดขึ้น ส่งผลกับผนัง พื้น ฝ้า หรืออื่นๆ ในบ้าน หรืออาคาร ได้ ดังนั้นรอยต่อจึงเป็นจุดอ่อนของระบบพรีคาสท์อีกจุดหนึ่ง ที่จะต้องมีการพิจารณาและหมั่นตรวจสอบอยู่เสมอ ทำไมต้องมีการตรวจสอบอยู่เสมอ ? เนื่องจากรอยต่อพรีคาสท์หากออกแบบให้ใช้วัสดุอุดรอยต่อประเภทซิลิโคน (เหมือนขอบหน้าต่าง ประตู ที่ทำจากอลูมิเนียม) ก็มักจะมีการเสื่อมสภาพเนื่องจากอายุการใช้งานและความทนทางกับ UV จากแสงแดด และต้องมีการเปลี่ยนใหม่ (อายุการใช้งาน 5-10 ปี)
ขึ้นอยู่กับคุณภาพและประเภทซิลิโคนที่ใช้ ส่วนต่อมาหากใช้การประสานรอยต่อด้วยมอร์ต้า (ปูนทรายผสมน้ำ) หรือ วัสดุประเภทนอนชิ้งเกรา (Non-shrink grout) หากใช้กรณีปูนทรายอุดรอยต่อจะมีปัญหาเรื่องการแตกร้าวตามรอยต่อไม่ส่งผลกับความแข็งแรงของโครงสร้างนะครับเป็นเพียงสาเหตุจากการหดตัว (shrinkage) ของปูนทรายหรือมอต้าร์กับชิ้นส่วนพรีคาสท์ที่เป็น คอนกรีตสำเร็จรูป เนื่องจากคอนกรีตมีการหดตัวน้อยกว่าปูนทรายหรือมอต้าร์มากครับ ส่วนกรณีที่ใช้นอนชิ้งเกรานั้นก็มีพบปัญหาน้อยกว่าการใช้ปูนทรายทั่วไป และเป็นที่นิยมใช้มากเนื่องจากนอนชิ้งเกรานั้นเป็นวัสดุที่มีส่วนผสมของวัสดุที่มีไม่มีการหดตัวอีกทั้งบางยี่ห้อก็มีการขยายเมื่อเทในรอยต่อทำให้ช่องว่างน้อยลงโอกาสที่จะมีการร้าวหรือการซึมผ่านของน้ำน้อยมาก ส่วนความแข็งแรงหรือกำลังของนอนชิ้งเกรานั้นก็มีกำลังไม่น้อยกว่าคอนกรีต
เอาละครับประเด็นสุดท้ายของระบบพรีคาสท์ที่เป็นข้อเสียที่ถูกถามมากที่สุดสำหรับ บรรดานักวางแผนทั้งหลายคือ จะทุบ รื้อ ต่อเติม เพิ่มขนาด ได้หรือไม่? ครับส่วนนี้ต้องมาพิจารณากันก่อนนะครับ เรื่องแรกที่จะเจาะ ทุบรื้อ ต้องพิจารณาถึงความแข็งแรงของโครงสร้างเป็นอันดับแรก เนื่องจากการออกแบบโครงสร้างของอาคารหรือบ้านนั้นมีความแตกต่างกัน เช่น โครงสร้างระบบเสาคาน ระบบผนังรับน้ำหนัก เป็นต้น ระบบผนังรับน้ำหนักนั้นการทุบรื้อ เจาะช่อง สกัด อะไรต่างๆเหล่านี้ มีผลต่อความแข็งแรงและการถ่ายแรงของโครงสร้างโดยตรง โดยทั่วไปเจ้าของโครงการหรือผู้ออกแบบจะแจ้งให้ผู้อยู่อาศัยหรือเจ้าของบ้านหรืออาคารรับทราบเงื่อนไขต่างๆ เหล่านี้ทราบและต้องปฏิบัติอย่างเคร่งครัดด้วย นั่นคือข้อเสียของระบบพรีคาสท์สำหรับนักวางแผนทุบ เจาะ รื้อ ครับ ส่วนโครงสร้างระบบเสาคานก็ เป็นที่รู้อยู่แล้วละครับว่าอย่าทุบโครงสร้างหลักครับส่วนผนังก็มักเป็นผนังก่ออิฐโดยทั่วไปอยู่แล้วครับ ข้อด้อยจุดนี้ก็ลดลงไปนิดหนึ่งครับ
สรุปเรื่องความร้อนที่มากกว่าผนังก่ออิฐ การต่อเติม ทุบ รื้อ ที่มีขอบเขตหรือข้อห้าม และรอยต่อที่มีโอกาสการซึมของน้ำหรือความชื้น ครับ เมือพิจารณาเปรียบเทียบกับ คุณภาพชิ้นงาน คุณภาพวัสดุ การไม่เกิดรอยแตกร้าวลายงาของผนังก่ออิฐ การใช้เวลาในการก่อสร้าง เป็นต้น ระบบพรีคาสท์ก็อาจจะดีมาก หรือด้อยกว่า นั้น ต้องพิจารณาให้ถี่ถ้วนว่าจุดยอมรับมากน้อยอย่างไร แต่ที่แน่ๆ ตอนนี้ ระบบพรีคาสท์มาแรง
ขอบคุณที่มา https://goo.gl/xdBhcc
Tag :
คอนกรีตสำเร็จรูป,
Precast Concrete